วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?

หลายคนข้องใจว่าจะตั้งค่า "Period" ของ "Indicator" ยังไงดี? ใช้ตัวเลขเท่าไหร่ดี? มีหลักการคิดยังไง?

ภาพโดย : Purd Tanitas

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยมีคำถามแบบนี้ในหัวช่วงเริ่มต้น เวลาที่ศึกษาระบบเทรดจาก Youtube และแหล่งอื่นๆ อยากรู้ว่าตัวเลขเหล่านั้นเอามาจากไหน ใช้หลักการอะไรในการกำหนดตัวเลขดังกล่าว
เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างระบบเทรดมากขึ้น จึงได้เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น

วันนี้เลยอยากนำสิ่งที่ผมเข้าใจมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ฟังกัน เพื่อเป็น Guideline ให้เป็นไอเดียนำไปต่อยอดในการคิดระบบเทรดของตัวเองกันครับ

Period ในที่นี้คือ ค่าตัวเลขของ "จำนวนบาร์ หรือ แท่งเทียน" ที่จะให้ Indicator นำมาใช้คำนวณ โดยจะคำนวณย้อนหลังตามจำนวน Period ที่กำหนด

จริงๆแล้วตัวเลข Period ที่เป็นค่าเริ่มต้น มากับ Indicator แต่ละตัว เป็นค่าที่ผู้คิดค้นหรือเทรดเดอร์ส่วนมากคิดและทดสอบแล้วว่า เป็นค่าที่ใช้ได้ดีบน Time Frame D1

ถ้าคุณเคยศึกษาระบบเทรดมาบ้าง มักจะได้ยินเทรดเดอร์หลายๆคนเรียกค่า Period เป็น "วัน" ตัวอย่างเช่น ใช้เส้น EMA 100 วัน ความหมายคือ ใช้เส้น EMA Period 100

ภาพโดย : Purd Tanitas

ซึ่งจะฟังดูไม่ขัดแย้งถ้าคุณใช้ Time Frame D1 แต่ถ้าคุณใช้ Time Frame H1 อาจจะฟังดูขัดแย้งหรือสับสนอยู่บ้าง

เพราะถ้าคุณใช้ค่า 100 ใน Period ของ H1 มันคือการคำนวณย้อนหลัง 100 แท่ง นั่นก็หมายถึง 100 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณต้องการคำนวณที่ 100 วันจริงๆตาม Time Frame D1 คุณจะต้องคำนวณก่อนว่า 100 วันคิดเป็นจำนวนกี่ชั่วโมง ซึ่งคำตอบคือ 2,400 ชั่วโมงนั่นเอง

ดังนั้นค่า EMA 100 ของ D1 จะเทียบเท่ากับ EMA 2400 ของ H1

ภาพโดย : Purd Tanitas
คุณสังเกตเห็นอะไรมั๊ยครับ จากภาพเส้น EMA 2400 ใน H1 ซึ่งก็คือค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 100 วัน ในช่วงที่ราคาวิ่งเข้าใกล้เส้น EMA เส้นนี้มันก็สามารถใช้เป็นแนวรับแนวต้านที่มีนัยสำคัญใน H1 ได้เหมือนกัน


แล้วทีนี้เราจะเลือกใช้ค่า Period ยังไงดีล่ะ?
คำตอบ คือ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำไปใช้ มันไม่มีผิด ไม่มีถูก

แล้วมันเป็นยังไงกันล่ะ มาดูกันครับ


ตัวอย่างเช่น : สมมุติผมเทรดที่ TF H4 และต้องการดูค่าเฉลี่ยของราคา (MA) ย้อนหลัง 3 วัน และค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 1 เดือน ผมจะต้องตั้งค่า Period เท่าไหร่ มาดูวิธีคิดกันครับ

จากโจทย์ผมจะต้องสร้างเส้นค่าเฉลี่ยราคา (MA) ขึ้นมา 2 เส้น

ในตลาด Forex 1 วันมี 24 ชั่วโมง นำ 24 ชั่งโมง มาหาร 4 ชั่วโมง
แปลว่าใน 1 วันจะมีแท่ง H4 ทั้งหมด 6 แท่ง

ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 1 ย้อนหลัง 3 วัน ก็นำ 6 x 3 = 18

ตลาด Forex เปิดทำการ 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ 1 เดือนจะเปิดทำการเฉลี่ย 20 วัน
ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 2 ย้อนหลัง 1 เดือน ก็นำ 6 x 20 = 120

สรุปคือผมจะต้องตั้งค่า MA เส้นที่ 1 Period = 18 และ MA เส้นที่ 2 Period = 120

ภาพโดย : Purd Tanitas

ภาพแสดงเส้น MA Period 18 (เส้นแดง) บน TF H4 จุดประสงค์เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 3 วัน และเส้น MA Period 120 (เส้นดำ) บน TF H4 เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 1 เดือน



มาดูอีกสักหนึ่งตัวอย่างใน TF ที่เล็กลงมาหน่อย : สมมุติผมต้องการเทรดที่ TF M15 แล้วต้องการดูค่าเฉลี่ยของราคา (MA) ย้อนหลัง 4 ชั่วโมง และ 1 วัน ผมต้องตั้งค่า Period เท่าไหร่?

จากโจทย์ผมจะต้องสร้างเส้นค่าเฉลี่ยราคา (MA) ขึ้นมา 2 เส้น

MA เส้นที่ 1 คิดดังนี้
1 ชั่วโมงมี 60 นาที นำ 60 นาที มาหาร 15 นาที
แปลว่าใน 1 ชั่วโมง จะมีแท่ง M15 ทั้งหมด 4 แท่ง

ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 1 ย้อนหลัง 4 ชั่วโมง ก็นำ 4 x 4 = 16

MA เส้นที่ 2 คิดดังนี้
จากด้านบน 1 ชั่วโมง จะมีแท่ง M15 ทั้งหมด 4 แท่ง 1 วันมี 24 ชั่วโมง

ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 2 ย้อนหลัง 1 วัน ก็นำ 4 x 24 = 96

สรุปคือผมจะต้องตั้งค่า MA เส้นที่ 1 Period = 16 และ MA เส้นที่ 2 Period = 96

ภาพโดย : Purd Tanitas
ภาพนี้แสดงเส้น MA Period 16 (เส้นแดง) บน TF M15 จุดประสงค์เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 4 ชั่วโมง และเส้น MA Period 96 (เส้นดำ) บน TF M15 เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 1 วัน



เป็นยังไงบ้างครับเริ่มจะเข้าใจหลักการคิดมากขึ้นบ้างมั๊ย เมื่อเข้าใจหลักการคิดแล้วทีนี้ก็น่าจะนำไปปรับใช้กันได้ดีขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าค่าของ Period ที่เราตั้งมีจุดประสงค์เพื่อดูค่าอะไร โดยที่ไม่ต้องมโนตัวเลขขึ้นมาเองอีกต่อไปแล้ว


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ช่วยให้ได้ไอเดียในการปรับค่า Period ใน Indicator ได้เหมาะสมและมีหลักการมากขึ้นนะครับ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยอะไร หรือใครมีความเห็นเพิ่มเติมสามารถ Comment ใต้บทความนี้ได้เลยนะครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 39 : ใช้ Pin Bar และ Reversal Bar เทรดคู่กับ Trend Line และ เส้น MA อย่างไร?


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 39
ใช้ Pin Bar และ Reversal Bar เทรดคู่กับ Trend Line และ เส้น MA อย่างไร?

ในตอนนี้ผมจะยกตัวอย่าง "การใช้ Pin Bar และ Reversal Bar คู่กับ Trend Line และ เส้น MA" เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้นนะครับ

จริงๆแล้ว Pin Bar อาจเกิดขึ้นบนรูปแบบของ Reversal Bar ด้วยก็ได้ ยิ่งทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน และอยู่ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มแล้ว สัญญาณนั้นจะยิ่งมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างแรก : จะเป็น การนำ Pin Bar และ Reversal Bra มาใช้คู่กับ Trend Line ซึ่งเส้นเราอาจจะตีเส้นเดียวหรือตีเส้นคู่ขนานก็ได้แล้วแต่ความถนัด Trend Line จะทำให้เราเห็นแนวโน้มชัดมากขึ้น

หากเป็นแนวโน้มขาขึ้น เราจะรอให้ราคาวิ่งเข้าใกล้เส้นแนวรับ (Support) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar เราจึงใช้สัญญาณนั้นเป็น Signal และ Trade Setup

ภาพโดย : Purd Tanitas

โดยวิธีเปิดออเดอร์ผมจะเข้าด้วยการวาง Pending Order ไว้ด้านบน สูงกว่า High ของแท่งที่เป็น Trade Setup เล็กน้อย แล้ววาง Stoploss ไว้ต่ำกว่า Low ลงมาเล็กน้อยเช่นกัน ที่ต้องให้ห่างเล็กน้อยเป็นการเผื่อ Buffer ไว้กันโดนเกี่ยวกรณีที่ราคามาทดสอบแนวรับตรงจุด Low เดิมของแท่ง Trade Setup แต่ราคาไม่ได้เบรกแนวนั้นจริงๆ แล้วเด้งกลับไปตามแนวโน้มเดิม

ภาพโดย : Purd Tanitas


เรามาดูแนวโน้มขาลงกันบ้าง เราจะรอให้ราคาวิ่งเข้าใกล้เส้นแนวต้าน (Resistance) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar เราจึงใช้สัญญาณนั้นเป็น Signal และ Trade Setup

ภาพโดย : Purd Tanitas

โดยวิธีเปิดออเดอร์ผมจะเข้าด้วยการวาง Pending Order ไว้ด้านล่างต่ำกว่า Low ของแท่งที่เป็น Trade Setup เล็กน้อย แล้ววาง Stoploss ไว้สูงกว่า High ขึ้นไปเล็กน้อยเช่นกัน

ภาพโดย : Purd Tanitas



ตัวอย่างที่สอง : จะเป็น การนำ Pin Bar และ Reversal Bar มาใช้คู่กับเส้น MA

ซึ่งหลักการก็จะคล้ายกันกับการใช้ Trend Line เพียงแค่เปลี่ยนเครื่องมือในการหาแนวรับแนวต้านมาเป็นเส้น MA นั้นเอง โดยวิธีนี้ช่วยให้คนที่ตีเส้น Trend Line ไม่ค่อยชำนาญสามารถหาแนวรับแนวต้านได้ไม่ยากเลย

จุดสังเกตในแนวโน้มขาขึ้นก็คือเส้น MA จะต้องเอียงขึ้นในองศาที่เหมาะสม ไม่น้อยเกินไปและไม่ชันเกินไป และราคาอยู่เหนือเส้น MA เราจะรอให้ราคาเข้าใกล้เส้น MA ซึ่งทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับ (Support) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar

ภาพโดย : Purd Tanitas


ส่วนแนวโน้มขาลงก็กลับกัน คือ เส้น MA จะต้องเอียงลงในองศาที่เหมาะสม ไม่น้อยไปและไม่ชันเกินไป ราคาอยู่ใต้เส้น MA เราก็จะรอให้ราคาเข้าใกล้เส้น MA ซึ่งทำหน้าที่เป็นเส้นแนวต้าน (Resistance) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar

ภาพโดย : Purd Tanitas

เพื่อความกระชับ Trade setup และจุดเข้ากับ Stoploss จะเหมือนที่อธิบายไปแล้วข้างบนเลยนะครับ


อย่าลืมคำนวณ Lot Size ที่การเปิดออเดอร์โดยใช้ Money Management ด้วยนะครับ

สำหรับจุด Take Profit แล้วแต่กลยุทธ์ของแต่ละคน ส่วนตัวผมส่วนมากจะใช้ Let Profit Run รอจนกว่าจะมีสัญญาณปิดออเดอร์จาก Indicator ทำให้บางเทรดมี Risk : Reward เกิน 1:5 เลยทีเดียว


ในตอนนี้ผมขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ช่วยให้ได้ไอเดียในการ Setup ระบบเทรดของตัวเองได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนะครับ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยอะไร หรือใครมีความเห็นเพิ่มเติมสามารถ Comment ใต้บทความนี้ได้เลยนะครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 38 : Reversal Bar


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 38

Reversal Bar

ในตอนนี้เรามาดูกันต่อในเรื่องของ "Reversal Bar" ซึ่งเป็น Price Action ที่น่าสนใจรูปแบบหนึ่งที่ใช้ดูเป็นสัญญาณการกลับตัว

การกลับตัวมี 2 แบบด้วยกัน คือ "กลับเพื่อตามแนวโน้ม" และ "กลับเพื่อสวนแนวโน้ม"

จริงๆจะเทรดตามแบบไหน ก็ไม่มีผิด ไม่มีถูก นะครับ มันอยู่ที่กลยุทธ์ที่คุณใช้มากกว่า ว่าคุณต้องการจะเทรดตาม หรือเทรดสวน แต่โดยมากการเทรดตามแนวโน้มจะมีความปลอดภัยกว่า การสวนแนวโน้มมักจะเป็นเรื่องของรายใหญ่ที่มีการวางเงินตามจุดต่างๆ

ส่วนตัวผมจะให้ความสำคัญการเทรดตามแนวโน้มมากกว่า

รูปแบบ Reversal Bar มีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่ผมจะพูดถึงและใช้งานอยู่เป็นประจำคือรูปแบบตามภาพด้านล่างนี้เลยครับ

ภาพโดย : Purd Tanitas

เรามาดูรูปแบบ Bullish Reversal กันก่อนนะครับ ซึ่งจะอยู่ทางด้านซ้ายของภาพ

ความหมายมีดังนี้ คือ แท่งที่ 1 จะเกิดอย่างไรก็ได้ สำคัญคือแท่งที่ 2 ราคาเปิดจะต้องสูงกว่า Low ของแท่งที่ 1 และราคาของแท่งที่ 2 มีการเบรกต่ำลงไปกว่า Low ของแท่งที่ 1  แต่ก็มีแรงซื้อกลับคืนมาจนราคาปิดสูงกว่า Low ของแท่งที่ 1

เราจึงเข้าที่การเทรดในแท่งที่ 3 และวางตำแหน่ง Stoploss ไว้ที่ Low ของแท่งที่ 2
สังเกตในภาพผมจะวางตำแหน่ง Stoploss ไว้ต่ำกว่า Low ของแท่งที่ 2 ลงไปอีกเป็นการเผื่อระยะ Buffer เพิ่มอีกเล็กน้อย กรณีที่ราคาอาจมีการลงมาทดสอบแนวรับบริเวณ Low เดิมแล้วเด้งกลับ ออเดอร์จะได้ไม่โดน Stoploss ง่ายเกินไป


ต่อมาเป็นรูปแบบ Bearish Reversal ทางด้านขวาของภาพ คล้ายกันกับ Bullish Reversal แค่กลับหัวกัน

ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นตามนี้คือ แท่งที่ 1 จะเกิดอย่างไรก็ได้ สำคัญคือแท่งที่ 2 ราคาเปิดจะต้องต่ำกว่า High ของแท่งที่ 1 และราคาของแท่งที่ 2 มีการเบรกขึ้นไปสูงกว่า High ของแท่งที่ 1  แต่ก็มีแรงเทขายกลับคืนมาจนราคาปิดต่ำกว่า High ของแท่งที่ 1

เราจึงเข้าที่การเทรดในแท่งที่ 3 และวางตำแหน่ง Stoploss ไว้ที่ High ของแท่งที่ 2
ตามภาพผมก็วางตำแหน่ง Stoploss ไว้สูงกว่า High ของแท่งที่ 2 ขึ้นไปอีกเป็นการเผื่อระยะ Buffer ด้วยเช่นเดียวกัน


ข้อแนะนำในการเทรดด้วย Reversal Bar เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น

1.สัญญาณ Reversal Bar จะแม่นยำมากขึ้นเมื่อใช้ในการเทรดตาม Trend หากใช้ Reversal Bar ในการเทรดสวน Trend มีโอกาสเจอสัญญาณหลอกได้บ่อย

2. การเทรดด้วย "Price Action" หรือ "Price Pattern" ให้แม่นยำควรใช้กับ Time Frame ใหญ่ๆอย่าง D1 เล็กสุดไม่ควรต่ำกว่า H4
เพราะ Time Frame ยิ่งเล็กลงเท่าไหร่ เราจะยิ่งเจอสัญญาณหลอกได้บ่อยมากขึ้นเท่านั้น

3. แท่งที่ 2 ที่เราใช้เป็น Trade Setup จุดเปิดออเดอร์ เราสามารถเข้าได้ 3 วิธี


  • วิธีแรกเข้าที่ราคาเปิดของแท่งที่ 3 เลย
  • วิธีที่สองใช้การวาง Pending Order ไว้บริเวณ High ของแท่งที่ 2 สำหรับ Bullish Reversal และวาง Pending Order ไว้บริเวณ Low ของแท่งที่ 2 สำหรับ Bearish Reversal โดยการวาง Pending Order วิธีนี้ควรเผื่อ Buffer ด้วย
  • วิธีที่สามวาง Pending Order ไว้ที่ Low ของแท่งที่ 1 สำหรับ Bullish Reversal และวาง Pending Order ไว้ที่ High ของแท่งที่ 1 สำหรับ Bearish Reversal วิธีนี้ไม่ต้องเผื่อ Buffer


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านได้นำ Reversal Bar ไปปรับใช้ในการเทรดให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 37 : Pin Bar

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 37

Pin Bar

หลังจากที่ผมได้พูดถึงเรื่อง "Price Action" ไปในตอนที่ 34-35 ในตอนนี้เลยนำเรื่อง Price Action มาพูดให้ฟังกันสักหน่อย ปกติแล้วเรื่องของ Price Action มันมีรูปแบบที่เยอะมาก หลากหลายรูปแบบจนจำกันได้ไม่หมด

ในเนื้อหา "Price Action" ผมจึงจะขอพูดถึงรูปแบบราคาที่ผมใช้บ่อยอย่าง "Pin Bar" และ "Reversal Bar" ให้ฟังก่อนนะครับ ซึ่งรูปแบบทั้ง 2 จะนำมันมาใช้ประกอบการตัดสินใจคู่กับ แนวรับแนวต้าน หรือ Indicator อื่นด้วย (ขึ้นอยู่กับแต่ละกลยุทธ์)

Pin Bar ถือเป็นสัญญาณที่ดูง่าย และค่อนข้างแม่นยำ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้ Pin Bar เป็นสัญญาณสำคัญของ Price Action

รูปแบบของ Pin Bar จะมี 2 ลักษณะตามรูปด้านล่าง คือ "Bullish Pin Bar" และ "Bearish Pin Bar"


ภาพโดย : Purd Tanitas


มาดู "Bullish Pin Bar" กันก่อน จากรูปด้านบนจะอยู่ทางฝั่งซ้าย สังเกตว่าจะมีแท่งเทียน 2 แบบ คือ
แดง กับ เขียว เป็นสัญญาณที่ใช้ในการเทรดทำกำไรขาขึ้น

ความหมายของแท่งสีแดง คือ หลังราคาเปิดแล้วมีแรงเทขายจำนวนมากทำให้ราคาลงมาต่ำ หลังจากนั้นก็มีแรงซื้อกลับคืนมา ทำให้เกิดหางยาวด้านล่างและสุดท้ายจบแท่งเทียนโดยราคาปิดอยู่ต่ำกว่าราคาเปิดเล็กน้อย

ส่วนความหมายของแท่งสีเขียว ก็คล้ายกับแท่งสีแดงที่อธิบายไป แต่จะจบแท่งโดยราคาปิดอยู่สูงกว่าราคาเปิด ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วระหว่างแท่งสีแดงและแท่งสีเขียว แท่งสีเขียวถือว่าจะสัญญาณที่มีนำหนักดีกว่า

ส่วน "Bearish Pin Bar" อยู่ทางด้านขวาของรูป มีแท่งเทียน 2 แบบเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ใช้ในการเทรดขาทำกำไรขาลง

ความหมายของแท่งสีแดง คือ หลังราคาเปิดแล้วมีแรงซื้อเข้ามาจำนวนมากทำให้ราคาขึ้นไปสูง หลังจากนั้นก็มีแรงเทขายออกมามาก ทำให้เกิดหางยาวด้านบนและสุดท้ายจบแท่งเทียนโดยราคาปิดอยู่ต่ำกว่าราคาเปิดเล็กน้อย

ส่วนความหมายของแท่งสีเขียว ก็คล้ายกับแท่งสีแดงอีกเช่นกัน แต่จะจบแท่งโดยราคาปิดอยู่สูงกว่าราคาเปิด ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วระหว่างแท่งสีแดงและแท่งสีเขียว แท่งสีแดงถือว่าจะสัญญาณที่มีนำหนักดีกว่า


ข้อแนะนำในการนำ Pin Bar มาใช้ในการเทรด คือ


  • สัญญาณจาก Pin Bar ที่ดีจะต้องเกิดขึ้นสอดคล่องกับ Trend (แนวโน้ม) หลักด้วย หาก Pin Bar เกิดขึ้นสวนทางกับ Trend (แนวโน้ม) Pin Bar นั้นจะไม่ถือเป็นสัญญาณในการเข้าเทรด แต่จะเป็นสัญญาณหลอกเสียมากกว่า
  • การเทรดด้วย "Price Action" หรือ "Price Pattern" ให้แม่นยำควรใช้กับ Time Frame ใหญ่ อย่าง D1 เล็กสุดไม่ควรต่ำกว่า H4 เพราะ Time Frame ยิ่งเล็กลงเท่าไหร่ เราจะยิ่งเจอสัญญาณหลอกได้บ่อยมากขึ้นเท่านั้น


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านได้นำ Pin Bar ไปปรับใช้ในการเทรดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 36 : Indicator


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 36

ตอนนี้ถือเป็น Part สุดท้ายของตอนที่ 34
ใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่ 34 สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ ที่นี่ เลยนะครับ
ส่วนตอนที่ 35 ก็ คลิกที่นี่ เลยครับ

ในตอนนี้ผมขอยังไม่ลงลึกในเรื่องของ Indicator แต่ละตัวมากนักนะครับ ขอพูดคร่าวๆในส่วนของ Indicator ที่ช่วยในการบอก Trend (แนวโน้ม) ก่อน เพื่อให้ต่อเนื่องกันกับตอนที่ 34-35

เรามาเริ่มกันเลย...

Indicator คือ เป็นเครื่องมือหรือตัวชี้วัด ที่ช่วยในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยนำข้อมูลดิบอย่างราคาหรือปริมาณการซื้อขาย มาคำนวณด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์หรือสูตรทางสถิติที่คิดค้นขึ้น ซึ่งแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของ Indicator แต่ละตัว



Indicator ที่นิยมใช้กันในตลาด Forex มี 2 ประเภท หลักๆ คือ

  • Trend (แนวโน้ม)
  • Oscillators (การแกว่งตัว)


Indicator ประเภท Trend จะใช้งานได้ผลดีในช่วงที่ "ตลาดเป็น Trend" ไม่ว่าจะเป็นทิศทางขาขึ้น หรือ ขาลง แต่จะได้ผลไม่ดีนักหากตลาดช่วงนั้น Sideway (ไม่มีแนวโน้ม) เพราะจะเจอสัญญาณหลอกบ่อยครั้ง

และ Indicator ประเภท Trend มีหลายตัว และที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ "Moving Average" หรือ "เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่" ซึ่งเป็นการนำราคาย้อนหลังตามจำนวนที่ต้องการมาหาค่าเฉลี่ย



การนำ "เส้น MA" มาใช้ในการเทรดขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคน มีทั้ง 1 เส้น 2 เส้น หรือ 3 เส้น เป็นต้น

เทคนิคการเทรดด้วย MA 1 เส้น ก็จะใช้การดูราคาว่าอยู่เหนือหรืออยู่ต่ำกว่าเส้น หากราคาอยู่เหนือเส้นก็จะหาจังหวะในการเทรดทำกำไรขาขึ้น หากอยู่ต่ำกว่าเส้นก็จะหาจังหวะในการเทรดทำกำไรขาลง

ภาพโดย : Purd Tanitas



เทคนิคการเทรดด้วย MA 2 เส้น จะใช้เส้นสั้นคู่กับเส้นยาว เช่น MA 10 และ MA 50 บางเทคนิคใช้จังหวะการตัดกันของเส้นเป็นสัญญาณในการเข้าเทรด เส้นสั้นตัดขึ้นเทรดทำกำไรขาขึ้น เส้นสั้นตัดลงเทรดทำกำไรขาลง แต่เทคนิคนี้อาจจะเจอสัญญาณหลอกบ่อยหากราคาเข้าช่วง Sideway

ภาพโดย : Purd Tanitas



ส่วนบางเทคนิคจะใช้เพื่อดูเทรนและหาจังหวะในการเทรด คือ เมื่อเส้นสั้นอยู่เหนือเส้นยาวจะหาจังหวะในการเข้าเทรดทำกำไรขาขึ้น หากเส้นสั้นอยู่ต่ำกว่าเส้นยาวก็จะหาจังหวะในการเทรดทำกำไรขาลง

ภาพโดย : Purd Tanitas



ส่วนเทคนิคการเทรดด้วย MA ที่มากกว่า 2 เส้นขึ้นไปก็จะคล้ายๆกับหลักการแบบ MA 2 เส้น แล้วแต่ว่าใครจะนำมาประยุกต์ใช้แบบไหน


ข้อแนะนำ สำหรับการหาจังหวะที่ใช้เป็นสัญญาณในการเทรดควรนำ "Price Action" เข้ามาประกอบการตัดสินใจด้วย จะช่วยลดสัญญาณหลอกลง ช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น


ส่วน Indicator ประเภท Oscillators เหมาะสำหรับการเทรดในตลาดที่แกว่งตัวอย่างไร้ทิศทาง หรือที่เรียกว่า Sideway เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถใช้รับมือกับความผันผวนของตลาด Sideway ได้ง่ายขึ้น มักจะนำมาใช้ประกอบเทคนิคในการเทรดแบบ Swing Trade ในช่วงตลาด Sideway และก็มีเทรดเดอร์หลายคนนำมาใช้ควบคู่กับ Indicator ประเภท Trend เพื่อช่วยกรองสัญญาณหลอกบางตัวออกด้วยเหมือนกัน

Indicator ประเภท Oscillators ที่นิยมใช้กัน คือ "MACD"  "RSI" และ "Stochastic"

ภาพ MACD สร้างโดย Purd Tanitas



ภาพ RSI สร้างโดย Purd Tanitas



ภาพ Stochastic สร้างโดย Purd Tanitas



ข้อแนะนำก่อนนำ Indicator มาใช้ในการเทรด คือ
  • ควรศึกษา "หลักการ" หรือ "ที่มา" ของ Indicator ตัวที่จะเลือกใช้ให้เข้าใจก่อนว่า สร้างขึ้นมาด้วยหลักการแนวคิดอะไร เพื่อจะได้นำมาใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิดของ Indicator ตัวนั้นๆ
  • หากคุณต้องการใช้ Indicator ประเภทใด คุณก็ควรเลือกใช้ Indicator ประเภทนั้นเพียง "ตัวเดียวก็พอ" ไม่ควรใช้ Indicator ประเภทเดียวกันหลายๆตัว


ยกตัวอย่าง เช่น ผมต้องการใช้ Indicator ประเภท Trend คู่กับ Oscillators ผมก็จะเลือกใช้เพียงอย่างละ 1 ตัว คือ MA กับ Stochastic เท่านั้น

ผมจะไม่ใช้ Indicator ประเภทเดียวกันหลายๆตัว เพราะ Indicator แต่ละตัวนั้นสร้างขึ้นมาจากแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป หากนำมาใช้พร้อมๆกันมันย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในตัว

ทำให้แทนที่จะได้สัญญาณเทรดที่ดี กลับได้สัญญาณเทรดที่แย่และสัญญาณที่น้อยลง เพราะกว่าทุกตัวจะเข้าเงื่อนไขพร้อมๆกัน จังหวะสัญญาณสวยๆก็ผ่านพ้นไปแล้ว


สำหรับตอนนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ไว้ผมจะมาเขียนลงรายละเอียดใน Indicator แต่ละตัวอีกครั้งในตอนต่อๆไปนะครับ

หวังว่าบทความนี่จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านได้ไอเดียในการใช้งาน Indicator และเทคนิคในการเทรดมากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 35 : Trend Line หรือ เส้นแนวโน้ม


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 35

ตอนนี้ต่อเนื่องจากตอนที่ 34 ใครยังไม่ได้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ ที่นี่ เลยครับ ส่วนคนที่อยากไปต่อกันแล้วเรามาเริ่มกันเลย

Trend Line คือ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้การลากเส้นเพื่อหาแนวโน้มของราคา เพื่อหา แนวรับ (Support) แนวต้าน (Resistance) ถือว่าเป็นเทคนิคที่ง่าย และ Basic ที่มีประสิทธิภาพเทคนิคหนึ่งในการวิเคราะห์ด้วยกราฟเลยก็ว่าได้

เชื่อมั๊ยครับว่าคำถามเกี่ยวกับ Trend Line ที่ถามกันบ่อยนั้น ก็คือ "ลากเส้นแบบนี้ถูกมั๊ย?"

คำตอบคือ "ไม่มีใครที่ลากเส้น Trend Line ผิด"  ใช่ครับ เรื่องนี้เป็นความจริง!!  พูดง่ายๆก็คือ มันเป็นศิลปะ ไม่มีผิด ไม่มีถูก

"การลากเส้น Trend Line ไม่มีกฏ (Rule) ตายตัว มีแต่ข้อแนะนำ (Guideline) ให้เป็นไอเดียในการฝึกลากเส้น Trend Line เพื่อใช้ในการเทรดจริง"


ข้อแนะนำในการลากเส้น Trend Line จะมีหลักการลากกันประมาณนี้ครับ

  • ก่อนลากเส้น ควรมองภาพใหญ่แนวโน้มให้ออกก่อน
  • ควรลากเส้นสัมผัสระหว่างจุดต่ำสุดจุดหนึ่งไปจุดต่ำสุดอีกจุดหนึ่ง สำหรับเส้น Trend Line ขาขึ้น และลากเส้นสัมผัสระหว่างจุดสูงสุดหนึ่งไปจุดสูงสุดหนึ่ง สำหรับ Trend Line ขาลง
  • ยิ่งลากเส้น Trend Line สัมผัสจุดได้มากกว่า 2 จุดยิ่งดี เพราะยิ่งจุดสัมผัสของเส้น Trend Line มากขึ้นก็จะถือว่าเส้นนั้นมีนัยสำคัญ แสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มมากขึ้นด้วย


  • นิยมลากเส้นขนานเส้นแนวโน้มควบคู่กันไปด้วย ถ้าทำได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรอีกเช่นกัน เพราะบางทีกราฟก็จะขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ในกรอบเส้นขนานที่ลากได้ บางทีก็ไม่อยู่ในกรอบ


  • บางครั้งการลากจุดสัมผัสบางจุดราคาอาจจะหลุดออกนอกเส้นไปบ้างก็ถือว่าไม่เป็นไร หรือบางจุดราคาอาจจะเข้าใกล้เส้นแนวโน้มแต่ก็ไม่สัมผัสกันพอดีแบบนี้จะถือว่ายังพอใช้ได้



เทคนิคการเทรดด้วยเส้นแนวโน้ม หรือ Trend Line : เวลาที่ลากเส้น  Trend Line ขึ้นมาได้ ให้สังเกตลักษณะ ต่าง ๆ ดังนี้ เพื่อใช้เป็นไอเดียในการเทรด คือ

1. ทิศทางของเส้น Trend Line มีแนวโน้มของเทรนเป็นอย่างไร? ขาขึ้น (Up Trend) ขาลง (Down Trend) หรือ ไม่มีแนวโน้ม (Sideways)

ข้อแนะนำ คือ ควรเทรดในทิศทางเดียวกับแนวโน้ม การเทรดตรงข้ามกับทิศทางของแนวโน้มในปัจจุบัน มีโอกาสขาดทุนมากกว่าโอกาสกำไร




2. ความชันของเส้น Trend Line เป็นอย่างไร? เอาไว้ดูว่าราคาขึ้นหรือลงเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป หรือกำลังดี ถ้าเส้นมีความชันมากๆ หมายความว่าราคามีการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงด้วยความเร็วและแรง นั้นหมายความว่าแนวโน้มนั้นก็มีโอกาสที่จะจบลงเร็วด้วยเช่นกัน



ความชันที่มากๆนั้นจึงไม่ค่อยจะมีความแม่นยำสักเท่าไหร่ ดังนั้นเส้น Trend Line ที่ดีไม่ควรจะมีความชันมากนัก แต่ก็ไม่ควรจะน้อยจนเกือบขนานเป็นแนวนอนด้วยเช่นกัน



องศาความชันของเส้น Trend Line ประมาณ 45 องศา เป็นเส้น Trend Line ที่กำลังดีสำหรับเทรดเดอร์หลายๆคน เพราะแนวโน้มนั้นแสดงถึงความไม่รีบร้อนหรือเฉยชาจนเกินไป



3. ถ้าราคากลับเข้ามาใกล้เส้น Trend Line ก็มีโอกาสที่จะกลับตัวแล้วไปต่อ ในทิศทางของเส้น  Trend Line แต่ถ้าราคาอยู่ห่างเส้น Trend Line มาก ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ามาหาเส้น Trend Line

เทคนิคที่ใช้ในการเทรดเมื่อราคากลับเข้ามาใกล้เส้น Trend Line เพื่อหาจังหวะเข้าเทรดในทิศทางเดียวกับแนวโน้ม ให้สังเกต Price Action ประกอบการตัดสินใจด้วยเพื่อความแม่นยำ

โดย Price Action ต้องมีสัญาณการกลับตัวในทิศทางนั้นๆด้วย (เรื่อง Price Action จะเขียนให้อ่านในครั้งต่อๆไปนะครับ)



4. ถ้าราคาเบรกเส้น Trend Line สามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนว่าอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือใช้ปิดออเดอร์เพื่อทำกำไร แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าทิศทางของแนวโน้มราคาจะต้องเปลี่ยน 100%  นะครับ เราจะรู้ว่าแนวโน้มของราคาเปลี่ยนแปลงทิศทางจริงหรือไม่ ต้องรอให้เวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งจึงจะรู้




หวังว่าบทความนี่จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีในการลากเส้น  Trend Line และเทคนิคในการเทรดมากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 34 : "ทฤษฎีดาว" Dow Theory


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 34

ตอนนี้เราพอจะรู้กันไปแล้วว่า สิ่งสำคัญในการเทรด คือ เราจำเป็นต้อง "ดูเทรนให้ออก" และในตอนนี้เราจะมาดูกันว่า "เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์เทรน" (Trend Analysis) มีอะไรอะไรกันบ้าง

"เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์เทรน" หลักๆจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  • Price Pattern
  • Trend Line
  • Indicator

ในตอนนี้ผมจะขอพูดถึง "Price Pattern" กันก่อนนะครับ

Price Pattern คือ รูปแบบของราคาที่ก่อตัวขึ้นจากราคาในอดีตและเกิดขึ้นซํ้าๆจน กลายเป็นรูปแบบต่างๆของราคา

ซึ่งถ้าพูดถึง Price Pattern แล้ว ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นก็คือ
"ทฤษฎีดาว" Dow Theory


เครดิตรูป : www.stockalphabets.com


Charles Dow ได้คิดค้น "ทฤษฎีดาว" ขึ้นมา และยังนำราคาปิดของหุ้นจำนวน 11 ตัวคิดเป็น "ดัชนีค่าเฉลี่ยตลาดหุ้น" ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดในการพัฒนาของวงการเทรดที่ยิ่งใหญ่เลยทีเดียว

เครดิตรูป : https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Dow

โดยหลักการพื้นฐานของ "ทฤษฎีดาว" มี 6 ประการดังนี้

1. รูปแบบของราคาได้สะท้อนทุกอย่างไว้หมดแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาด หรือแม้กระทั่งปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ทุกอย่างได้สะท้อนออกมาเป็นราคา ณ ขณะนั้นเรียบร้อยแล้ว


2. ราคาเคลื่อนไหวอย่างเป็นแนวโน้ม

โดย Charles Dow ได้แบ่งส่วนประกอบของแนวโน้มออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • Primary Trend หรือ แนวโน้มหลัก เป็นแนวโน้มใหญ่ในระดับ จะคงอยู่มากกว่า 1 ปี บางครั้งกินเวลาไปนานหลายปี
  • Secondary Trend หรือ แนวโน้มรอง หรือบางครั้งเรียกแนวโน้มระยะกลาง (Intermediate) เป็น "ช่วงตลาดปรับฐาน" หรือเรียกว่า "ช่วงพักตัว" อยู่ในแนวโน้มหลัก ปกติจะกินเวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน และปรับฐานลึกได้ตั้งแต่ "หนึ่งในสามถึงสองในสาม" ของรอบที่เพิ่งผ่านมา แต่โดยมากราคามักจะปรับฐานลงมาประมาณครึ่งหนึ่งของรอบที่ผ่านมาเสมอ
  • Minor Trend หรือ แนวโน้มย่อย เป็นแนวโน้มระยะสั้น กินเวลาน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ซึ่งไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มหลัก

เครดิตรูป : www.dalalstreetwinners.com

3. แนวโน้มหลักมี 3 ช่วง

Charles Dow ให้ความสนใจต่อแนวโน้มหลักมากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะสภาวะตลาดที่เป็น Bull Market (ตลาดกระทิง) หรือแนวโน้มขาขึ้น และ Bear Market (ตลาดหมี) หรือแนวโน้มขาลง
ต่างก็แบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลาเช่นเดียวกัน ดังนี้

  • "Accumulation" หรือ ช่วงสะสมหุ้น จะเกิดในช่วงต้นของแนวโน้ม เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนในตลาดไม่กล้าลงทุน ช่วงเวลานี้นักลงทุนที่มีความเชียวชาญและมีความเข้าใจตลาดเป็นอย่างดี จะเข้ามาทยอยเปิดสถานะซื้อเพื่อเก็งกำไรในแนวโน้มขาขึ้น หรือ เปิดสถานะขายเพื่อเก็งกำไรในแนวโน้มขสลง เพราะเขารู้ดีว่าแนวโน้มก่อนหน้ากำลังจะสิ้นสุดลงในไม่ช้า
  • "Public Participation" หรือ ช่วงตลาดมีส่วนร่วม เป็นช่วงที่คนส่วนมากเริ่มมองเห็นทิศทางของแนวโน้มชัดเจนขึ้น และเริ่มเข้ามาซื้อหรือขายมากขึ้นในช่วงระยะเวลานี้ ทำให้จลาดมีการปรับตัวของราคาอย่างรวดเร็ว จะดูคึกคักเป็นพิเศษ
  • "Distribution" หรือ ช่วงเวลาแห่งการจำหน่ายแจกจ่าย จะเกิดขึ้นช่วงที่มีสีสันมากเป็นพิเศษ ทุกคนต่างกันพาเห็นไปในทิศทางเดียวกันต่างพากันแห่เข้าซื้อหรือขายกันเป็นจำนวนมากแบบทวีคูณ ซึ่งในช่วงเวลานี้ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งเริ่มปิดสถานะออเดอร์เพื่อทำกำไรอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ตลาดเริ่มเกิดสภาวะชะลอตัว และสิ้นสุดแนวโน้มในทิศทางนั้นในที่สุด

เครดิตรูป : EliteMarkets.com

ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 3 ช่วงใน "ทฤษฎีดาว" นั้น ได้ถูกนำมาวิจัยต่อยอดโดย R.N.Elliott จนเกิด "ทฤษฎีคลื่นเอลเลียต" (Elliott Wave) ตามมาภายหลังนั่นเอง


4. ตลาดทั้งหมดต้องสอดคล้องกัน

เมื่อเกิดสัญญาณแนวโน้มในทิศทางใด ราคาที่เกี่ยวข้องกันควรจะต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อาจไม่จำเป็นต้องเกิดพร้อมกันในเวลาเดียวกันเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดขึ้นไล่เลี่ยกันก็ได้ ยิ่งเกิดขึ้นใกล้เคียงกันมากเท่าไหร่ ความแข็งแรงของสัญญาณก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น


5. โวลุ่มการซื้อขายต้องยืนยันแนวโน้ม

Charles Dow เชื่อว่าโวลุ่มการซื้อขายจะช่วยยืนยันสัญญาณตลาดอีกทางหนึ่ง โดยโวลุ่มการซื้อขายควรจะเพิ่มมากขึ้น และไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางของแนวโน้มหลัก และเมื่อราคาเกิดการย่อตัวปรับฐาน โวลุ่มการซื้อขายก็ควรจะลดลงตามกัน ถ้าสรุปง่ายๆก็คือ ถ้าช่วงตลาดกำลังปรับตัวขึ้น โวลุ่มก็ควรเพิ่มขึ้นตามแรงซื้อ และเมื่อย่อตัวปรับฐาน โวลุ่มก็ควรลดลงด้วย และถ้าช่วงตลาดกำลังปรับตัวเป็นขาลง โวลุ่มก็ควรเพิ่มขึ้นเพื่อสะท้อนแรงเทขาย และเมื่อรีบาวน์ โวลุ่มก็ควรลดลงด้วย


6. แนวโน้มราคาจะคงอยู่ไปจนกว่าจะมีสัญญาณกลับตัวที่ชัดเจน

Charles Dow จะไม่คาดการณ์ว่าแนวโน้มนั้นจะเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ หรือระยะทางไกลแค่ไหน แต่แค่รอว่าถ้าเกิดสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม จึงเป็นสัญญาณใกล้จบแนวโน้มนั้น

โดยปกติการแบ่งแนวโน้มของ "ทฤษฎีดาว" จะดูจากการทำ Swing High และ Swing Low ของราคา

โดยถ้าแนวโน้มขาขึ้น จะทำ Higher High (ทำ High ใหม่สูงกว่า High เดิม) และทำ Higher Low (ทำ Low ใหม่สูงขึ้นกว่า Low เดิม) แสดงถึงทิศทางของ "แนวโน้มขาขึ้น" (Bull market)

เครดิตรูป : www.realfibonaccitrading.com



และถ้าราคาทำ Lower High (ทำ High ใหม่ต่ำลงกว่า High เดิม) และทำ Lower Low (ทำ Low ใหม่ต่ำลงกว่า Low เดิม) แสดงถึงทิศทางของ "แนวโน้มขาลง" (Bear market)


เครดิตรูป : www.realfibonaccitrading.com


สำหรับ "ทฤษฎีดาว" นั้น Charles Dow ยังให้ความสำคัญกับราคาปิดของวันมากกว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างวันเป็นอย่างมาก และยังให้ความสำคัญกับเส้นแนวนอนที่ตีพาดผ่านราคาตามจุดที่มีนัยสำคัญเป็นเส้นแนวรับแนวต้านอีกด้วย

ผมขอพูดถึง "ทฤษฎีดาว" ไว้เพียงเท่านี้นะครับ หากใครที่สนใจอยากศึกษาลงลึกกว่านี้ ลองหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมได้ทั้งทางหนังสือที่ขายตามร้านหนังสือชั้นนำ หรือทางเว็ปไซด์ต่างๆที่เจาะลึกเรื่องนี้ได้ตามสะดวก

สำหรับมือใหม่ผมอยากให้คุณฝึกมองภาพของแนวโน้มหลักให้ออก จากนั้นจึงค่อยฝึกการหาจังหวะในการเข้าเทรดตามแนวโน้มหลัก จงอย่าลืมว่า "เทรนเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ"

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับหลายๆคน ท่านสามารถแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆของคุณได้เลยนะครับ


ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 33 : แนวโน้มราคา (Trend)


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 33

หลังจากที่เราได้รู้วิธีใช้ MT4 ในการเทรด และได้รู้เกี่ยวกับเรื่องการบริหารเงินกันไปบ้างแล้ว

ทีนี้เรามาดูเกี่ยวกับ “เทคนิคในการเทรด” กันบ้าง โดยผมจะเน้นไปที่พื้นฐานที่สำคัญหลักๆกันก่อนนะครับ

อยากจะบอกว่าพื้นฐานมีความสำคัญมากต่อการสร้างความเข้าใจในการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค

ทฤษฎีและเครื่องมือทางเทคนิคทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น แนวรับแนวต้าน รูปแบบราคา เส้นค่าเฉลี่ยราคา หรือแม้แต่เส้นแนวโน้ม ต่างก็ถูกคิดค้นขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันนั่นก็คือ “ใช้สำหรับหาแนวโน้มในตลาด” เพื่อให้เราสามทรถเทรดไปในทิศทางเดียวกับตามแนวโน้มตลาดได้ง่ายขึ้น

ซึ่งหลักการนี้เหมือนดังคำพูดที่ว่า “Trend is your friend” (แนวโน้มตลาดคือเพื่อนที่ดีที่สุด)

http://www.solvingforgeny.com


แนวโน้มราคา (Trend) คือ ทิศทางที่ราคาตลาดนั้นได้เคลื่อนที่ไป

โดยแนวโน้มราคา (Trend) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือ


  • แนวโน้มราคาขาขึ้น (Up Trend)
  • แนวโน้มราคาขาลง (Down Trend)
  • แนวโน้มราคาแบบไม่มีแนวโน้ม (Sideway)

https://www.davelandry.com


แนวโน้มราคาก็ยังแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้อีก คือ


  • แนวโน้มหลัก (Major Trend หรือ Long Term Trend)
  • แนวโน้มรอง (Intermediate Trend หรือ Medium Term Trend)
  • แนวโน้มย่อย (Near Term Trend หรือ Short Term Trend)


เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นลองดูภาพด้านใต้นี้ครับ

www.investopedia.com

เทรดเดอร์ส่วนมากจะมองหาแนวโน้มหลัก (Long Term Trend) เพื่อหาจังหวะในการเข้าเทรดที่แนวโน้มรอง (Medium Term Trend)

ส่วนช่วงที่เป็นแนวโน้มย่อย (Short Term Trend) เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์สูงบางคนก็จะเข้าเทรด เพื่อเก็งกำไรระยะสั้น แต่สำหรับมือใหม่ผมยังไม่แนะนำให้คุณเทรดในช่วงนี้นะครับ ไว้คุณเทรดเก่งขึ้นประสบการณ์มากขึ้นค่อยมาฝึกเทรดในช่วงนี้ทีหลังก็ได้ครับ

ตอนนี้ผมขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ตอนหน้าจะมาต่อในเรื่องของเครื่องมือทางเทคนิคที่ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มกันครับ

ถ้าเนื้อหาเป็นประโยชน์กับท่านและคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนท่านเช่นกัน กด Share เพื่อแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆได้เลยนะครับ ท่านใดอยากติดตามเพื่ออ่านบทความต่อๆไปก็สามารถกดติดตามกันได้ หรือจะคอมเม้นท์เพื่อแสดงความเห็นได้เต็มที่เลยนะครับ


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 32 : Risk Reward Ratio คืออะไร? และสำคัญอย่างไร?


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 32

ในตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับ "Risk Reward Ratio" ว่ามันคืออะไร? แล้วมีความสำคัญยังไงต่อการเทรด?

ผู้สร้าง:Ray Woo


เรามาดูที่ความหมายของมันกันก่อนนะครับ "Risk Reward Ratio" คือ "อัตราส่วนผลตอบแทน ต่อ ความเสี่ยง"

โดยที่ "Risk" คือ สัดส่วนความเสี่ยงที่เราจะ "เสียหรือขาดทุน" ในแต่ละครั้งที่เทรด

และ "Reward" คือ สัดส่วนที่เราจะ "ได้กลับคืนหรือกำไร" ในแต่ละครั้งที่เทรด

"Risk Reward Ratio" มักใช้ตัวย่อสั้นๆว่า "R:R"

สิ่งนี้เองที่จะทำให้เรารู้ว่า "เวลาเสียเราจะเสียเท่าไหร่ และ เวลาได้เราจะได้เท่าไหร่"


ดังนั้นคุณสามารถนำมันมาใช้วิเคราะห์การเทรดของคุณได้ เพื่อดูว่าระยะเป้ากำไรที่คุณคาดการณ์ไว้ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่เมื่อเทียบกับความเสี่ยง หาก Reward ต่ำกว่าสัดส่วน Risk เทรดนี้ไม่คุ้มที่จะเสี่ยงคุณก็ไม่ควรเทรด

หรือคุณอาจจะนำมาใช้ประเมินระบบเทรด เพื่อใช้ในการเลือกมาใช้ก็ได้

เช่น สมมุติถ้าคุณมีระบบที่ใช้ R:R = 1:1 และมี WinRate 50% ระบบนี้ก็ไม่ค่อยน่าสนใจมากนัก เพราะมีโอกาสที่พอร์ตของคุณจะไม่เติบโต

หากคุณใช้ระบบที่ใช้ R:R = 1:1 ระบบนั้นจึงจำเป็นต้องมี WinRate ที่สูงเกินกว่า 50% ยิ่ง WinRate สูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพื่อให้การเทรดด้วยระบบนั้นได้เปรียบมมากยิ่งขึ้น


แต่ถ้าระบบนั้นมี R:R มากกว่า 1:1 เช่น 1:2 หรือ 1:3 ต่อให้ WinRate ของระบบอยู่ที่ 40% ระบบนั้นก็ยังคงได้เปรียบและยังมีโอกาสทำกำไรได้อยู่ และถ้าระบบยิ่งมี WinRate สูงเท่าไหร่ ระบบนั้นก็ยิ่งได้เปรียบมากยิ่งขึ้นเช่นกัน


เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ผมจะทำตารางเปรียบเทียบเรื่อง R:R ให้คุณดูกันสัก 2-3 ตัวอย่างดังนี้

ตารางที่ 1 : ใช้ R:R ที่สัดส่วน 1:2 เทรด 20 ครั้ง โดยเทรดชนะ 10 ครั้ง และแพ้ 10 ครั้ง มี WinRate อยู่ที่ 50% ผลรวมยังคงมีกำไรพอร์ตยังคงเติบโตได้

ระบบใช้ R:R = 1:2 และมี WinRate = 50%



ตางรางที่ 2 : ใช้ R:R ที่สัดส่วน 1:2 เทรด 20 ครั้ง โดยเทรดชนะ 8 ครั้ง และแพ้ 12 ครั้ง มี WinRate เพียง 40% แต่ผลรวมยังคงมีกำไรอยู่ พอร์ตยังมีโอกาสเติบโตได้เช่นกัน

ระบบใช้ R:R = 1:2 และมี WinRate = 40%



ตารางที่ 3 : ใช้ R:R ที่สัดส่วน 1:3 เทรด 20 ครั้ง โดยเทรดชนะ 7 ครั้ง และแพ้ 13 ครั้ง มี WinRate เพียง 35% เท่านั้น แต่สังเกตุว่าผลรวมยังคงมีกำไร และพอร์ตยังมีโอกาสเติบโตได้

ระบบใช้ R:R = 1:3 และมี WinRate = 35%


ตอนนี้เริ่มเห็นพลังของ "Risk Reward Ratio" ที่ได้เปรียบแล้วหรือยังครับ

ดังนั้นถ้าเรามีระบบที่ R:R ตั้งแต่ 1:2 ขึ้นไป ขอแค่ WinRate 45%-50% ก็เพียงพอที่จะทำให้พอร์ตเราโตขึ้นได้แล้ว

เรื่องนี้คุณไม่ควรมองข้ามมันไปนะครับ และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้มือใหม่หลายๆคน นำไปใช้ พิจารณาในการเทรดหรือเลือกใช้ระบบเทรดกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนะครับ


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 31 : Money Management วิธีคำนวณ Lots อย่างง่าย


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 31

เมื่อเรารู้แล้วว่าควรใช้ความเสี่ยงเท่าไหร่ดี
คำถามต่อมาคือ "แล้วเราจะคำนวณขนาด Lots อย่างไร?" เพื่อให้อยู่ในความเสี่ยงที่เราต้องการ

เครดิต:Getty Images/iStockphoto   ลิขสิทธิ์:bizoo_n


จากที่ผมได้อธิบายวิธีคำนวณกำไรขาดทุนในตอนที่ 18 ไปแล้ว เราจะนำสมการนั้นแหละครับมาใช้ในการคำนวณ ด้วยการย้ายข้างในสมการนั้นแทน

โดยสูตรง่ายๆที่ใช้ได้จริง ที่ผมใช้อยู่ทุกวันนี้ คือ (จำนวนเงินที่ใช้เสี่ยง / ระยะตัดขาดทุน) = Lots

เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผมขอยกตัวอย่าง การคำนวณกับบัญชีประเภท Standard Lot ก่อนนะครับ แบบเดียวที่ผมเคยอธิบายไปในตอนที่ 18

ตัวอย่างที่ 1 : สมมุติคุณมีทุน 1,000 USD ต้องการใช้ความเสี่ยง 1% ของเงินทุน และระยะที่คุณต้องการจะตัดขาดทุนอยู่ที่ 20 Pips จะต้องเปิดออเดอร์ด้วยขนาด Lots เท่าไหร่?

วิธีคำนวณ คือ (1,000 x 0.01) / (20 x 10) = Lots
คำตอบก็คือ  Lots = 0.05


ตัวอย่างที่ 2 : สมมุติคุณมีทุน 1,000 USD ต้องการใช้ความเสี่ยง 1% ของเงินทุน และระยะที่คุณต้องการจะตัดขาดทุนอยู่ที่ 250 Points จะต้องเปิดออเดอร์ด้วยขนาด Lots เท่าไหร่?

วิธีคำนวณ คือ (1,000 x 0.01) / 250 = Lots
คำตอบก็คือ  Lots = 0.04


จากทั้ง 2 ตัวอย่าง ในตัวอย่างที่ 1 เรารู้ระยะตัดขาดทุนเป็น Pips เวลาเราคำนวณจึงจะต้องแปลงเป็น Points ก่อนโดยการคูณ 10 เข้าไป ยังจำกันได้ใช่มั๊ยครับว่า 1 Pip = 10 Points

ส่วนตัวอย่างที่ 2 เรารู้ระยะตัดขาดทุนเป็น Points จึงไม่ต้องคูณ 10 เข้าไปแล้ว สามารถนำระยะ Points มาคำนวณได้เลย

ดังนั้นคุณจะใช้วิธีคำนวณแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้เป็นหลัก ว่าเป็นโบรเกเกอร์ 4 จุดหรือ 5 จุด


ทีนี้ถ้าคุณต้องการนำมาคำนวณกับบัญชีประเภทอื่น คุณก็ใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกัน แล้วนำผลลัพธ์มาคูณตัวเลขตามแต่ละประเภทบัญชีดังนี้

สมมุติว่าผลลัพทธ์เราคำนวณได้ Lots = 0.05

ถ้าเป็น บัญชี Mini ก็นำ 0.05 x 10 = 0.50 Lots

ถ้าเป็น บัญชี Micro ก็นำ 0.05 x 100 = 5.00 Lots

ถ้าเป็น บัญชี Nano ก็นำ 0.05 x 1000 = 50.00 Lots


วิธีคำนวณแบบนี้เป็นวิธีแบบง่ายๆ เน้นใช้งานได้จริง อาจจะไม่ตรงตามทฤษฎีเป๊ะ 100% แต่เป็นวิธีคำนวณที่ง่ายไม่ยุ่งยากครับ ผมเองก็ใช้วิธีนี้แหละครับในการคำนวณ


ตอนนี้คุณเองก็สามารถคำนวณหาขนาด Lots ตามความเสี่ยงที่ต้องการได้แล้ว อย่าลืมคุมความเสี่ยงทุกครั้งที่ทำการเทรดกันนะครับ แล้วพอร์ตของคุณจะรอดพ้นจากการขาดทุนหนักถึงขั้นล้างพอร์ตได้ครับ


"Control Risk, do not let control you"
"ควบคุมความเสี่ยง, ไม่ปล่อยให้มันควบคุมคุณ"


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 30 : Money Management กับ กฏ 1%


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 30

หลังจากที่เราได้เรียนรู้พื้นฐาน Forex และการใช้ MT4 เบื้องต้นกันไป ก่อนไปที่เรื่องเทคนิคการวิเคราะห์กราฟ เรามาดูเรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องนี้ก่อนครับ นั่นก็คือ "Money Management"

ถ้ายังจำรูป "ภูเขาน้ำแข็ง" ที่ผมพูดในตอนที่ 3 กันได้ เรื่อง "Money Management" มีความสำคัญมากกว่าเทคนิคหรือระบบเทรดเสียอีกจริงมั๊ยครับ ดังนั้นผมจะหยิบมันมาพูดถึงก่อนที่ไปเรื่องเทคนิคการวิเคราะห์กราฟ

"Money Management" ไม่ว่าจะเรียกเป็นภาษาไทยว่า "การบริหารจัดการเงิน" หรือ "การบริหารจัดการความเสี่ยง" มันก็คือเรื่องเดียวกัน



ปัญหาที่มือใหม่ส่วนมากมักจะเจอกันก็ คือ

  • ไม่รู้ว่าจะใช้ขนาด Lot เท่าไหร่ในการเปิดออเดอร์?
  • ไม่รู้ว่าต้องใช้ความเสี่ยงเท่าไหร่ดี?


ถ้าจำกันได้ผมเคยพูดไว้ในตอนที่ 2 เรื่องที่แนะนำให้ใช้ความเสี่ยงที่ 1% กันก่อน

แล้วทำไมต้อง 1% ที่มาของ "กฏ 1%" มาจากการนำ สูตรเคลลี่ "Kelly’s Formula" มาประยุกต์ใช้

สูตรเคลลี่ "Kelly’s Formula" : เป็นวิธีการบริหารหน้าตักที่จะทำให้หมดตัวน้อยที่สุด และสามารถสร้างกำไรเร่งพอร์ตได้เร็วที่สุด

สูตร Kelly ถูกวิจัยขึ้นที่เบลแลป โดยนาย จอห์น เคลลี่ จูเนียร์ (John Kelly, Jr.) และเพื่อนๆ

แต่เคลลี่เองยังไม่ทันได้ใช้งานวิจัยนี้ ก็เสียชีวิตไปเสียก่อน เพื่อนของเขา นาย คลอด แชลนอล (Claude Shannon) ได้นำกลยุทธ์การวางเงินนี้ไปเอาชนะเจ้ามือ "Blackjack" จนร่ำรวยและเป็นที่รู้จัก

หลังจากนั้นเทรดเดอร์จำนวนมาก จึงนำมาใช้ในการวางเงินในการเทรดหุ้น , Forex, Commodity กันอย่างแพร่หลาย

ข้อดีของกลยุทธ์การวางเงินนี้ คือ ช่วยลดความเสี่ยง โดย "การลดขนาดของ Lot" ในการเทรดลง "ทุกครั้งที่แพ้" และช่วย "เพิ่มขนาดของ Lot" ให้มากขึ้นใน "ทุกครั้งที่เทรดแล้วชนะ"


อย่างไรก็ตามต้องขอออกตัวก่อนว่า 1% ที่ไม่ได้มาจากการใช้ สูตรเคลลี่ "Kelly’s Formula" คำนวณแบบตรงๆเลยนะครับ เพราะถ้าจะใช้สูตรนี้คุณจำเป็นต้องมี % WinRat ที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว และ มีอัตราต่อรอง (Risk : Reward) ของระบบเสียก่อน

ถึงแม้ว่าจะมีทั้ง 2 สิ่งแล้วก็ตามผลลัพธ์ที่ออกมาก็อาจจะดูมีความเสี่ยงที่สูงเกินไปกับการนำมาใช้ในการเทรด Forex ด้วยเช่นกัน


อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มงง ผมจะบอกว่าไม่ต้องงไปหรอกครับ คุณไม่จำเป็นต้องไปจำมันก็ได้ครับ ว่าสูตรนี้มันใครเป็นคนคิด หรือสูตรมันคืออะไร ถ้าใครอยากรู้ก็ลองหาใน Google เพิ่มเติมได้ครับ


สิ่งที่คุณควรรู้แค่จำไว้ว่า หลักการของ "กฏ 1%" ที่ผมพูดถึงมัน คือ "เป็นวิธีการบริหารหน้าตักที่จะทำให้หมดตัวน้อยที่สุด และสามารถสร้างกำไรเร่งพอร์ตได้เร็วที่สุด" แค่นี้ก็พอครับ


คุณอาจจะยังนึกไม่ออกว่าจะช่วยยังไง ผมทำตารางมาให้ดูประกอบกับอธิบายให้ฟังตามนี้นะครับ


จากตารางสมมุติให้การเทรด 20 ครั้งแพ้ทั้งหมด สังเกตุว่าทุกครั้งที่แพ้จำนวนเงินที่เราจะเสี่ยงต่อครั้งก็ลดลงด้วยเช่นกัน

ดังนั้นถ้าเราใช้ความเสี่ยง 1% โดยคำนวณความเสี่ยงใหม่ตามยอดเงินทุนทุกครั้ง เมื่อเงินทุนเราลดลงจำนวนเงินที่เสี่ยงแต่ละครั้งก็จะลดลงตามสัดส่วนด้วย

และในทางกลับกันถ้าเราเทรดชนะเงินทุนเพิ่มขึ้น จำนวนเงินที่เสี่ยงแต่ละครั้งก็จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนไปด้วยทำให้อัตราการเติบโตของพอร์ตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน


ที่นี้เรามาดูว่าถ้าเราเทรดขาดทุน จะต้องเทรดให้ได้กำไรกี่ % เพื่อให้ได้คืนเท่าทุน


จากตารางสังเกตุว่าเราเทรดขาดทุน 20% เราจะกลับเท่าทุนได้ เราต้องกำไร 25% ของทุนที่เหลือถึงจะกลับมาเท่าทุนได้ แล้วยิ่งเราปล่อยให้ขาดทุนมากขึ้น เช่น 50% เราจะต้องทำกำไรถึง 100% ของทุนที่เหลือเลยถึงจะกลับมาเท่าทุน

แน่นอนว่ายิ่งเราขาดทุนหนักมาก เราจะยิ่งเหนื่อยมากขึ้นและมีผลต่อสภาพจิตใจในการเทรดแน่นอน


ดังนั้นควรใช้ความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม ผมจึงแนะนำให้คุณเริ่มต้นที่ 1% ก่อน หรือจะต่ำกว่านั้นก็ได้ในการเริ่มต้น เมื่อคุณเทรดเก่งขึ้นมีผลงานดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ คุณจะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีกหน่อยก็ยังได้ครับ

ในตอนนี้ผมขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ในตอนต่อไปเราจะยังคงอยู่กับเรื่อง "Money Management" กันต่อ แล้วพบกันในตอนต่อไปนะครับ

"Control Risk, do not let control you"
"ควบคุมความเสี่ยง, ไม่ปล่อยให้มันควบคุมคุณ"


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการ Backtest ด้วย MT4 ทำอย่างไร? : Part # 3


"ขั้นตอนการ Backtest ด้วย MT4 ทำอย่างไร?"

Part # 3

หลังจากที่เราเตรียมข้อมูลราคากันเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้มาดู "ขั้นตอนการทำ Backtest" กันเลย

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มและยังใช้งาน MT4 ในการเทรดไม่คล่อง สามารถข้ามเรื่องการ Backtest ทั้ง 3 Parts ไปก่อนได้เลยนะครับ



เรามาเริ่มกันเลยด้วยการเรียกคำสั่ง "Strategy Tester" ขึ้นมาก่อน ซึ่งสามารถเรียกคำสั่งได้ 2 วิธี คือ ไปที่เมนู "View" แล้วเลือกหัวข้อ "Strategy Tester" หรืออีกวิธีใช้คีย์ลัดด้วยการกด "Ctrl+R" ถนัดแบบไหนก็ใช้แบบนั้นได้เลยครับ



เมื่อเรียกคำสั่งขึ้นมาแล้ว จะมีหน้าต่าง "Tester" ขึ้นมาด้านล่าง ถ้าคุณต้องการพื้นที่แสดงกราฟมากขึ้นก็อาจจะปิดหน้าต่าง "Terminal" ไปก่อนก็ได้ครับ



เลือกโหลดด้านซ้ายว่าเราจะทดสอบ "Expert Advisor" (EA) หรือ "Indicator"



จากตัวอย่าง เลือกทดสอบ EA ตรงหัวข้อแรกด้านบนเรา "เลือกชื่อ EA" ให้ตรงกับที่เราจะทดสอบ



หัวข้อ "Symbol" เลือกคู่เงินที่เราต้องการทดสอบ



หัวข้อ "Model" เลือกโหมดการเคลื่อนตัวของราคา แต่ละโหมดมีผลต่อการทดสอบ โดยแต่ละโหมดมีความหมายดังนี้



  • Every tick : เป็นโหมดที่มีความละเอียดที่สุด การเคลื่อนตัวของกราฟจะขยับในทุก tick ใกล้เคียงกับการขยับจริงของราคา ด้วยความที่เป็นโหมดทดสอบแบบละเอียด ระยะเวลาในการทดสอบก็จะนานที่สุดด้วยเช่นกัน


  • Control points : เป็นโหมดการทดสอบแบบหยาบๆ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบก็จะค่อนข้างเร็ว แต่ผลการทดสอบที่ได้ออกมาก็จะมีความน่าเชื่อถือน้อยด้วยเช่นกัน


  • Open prices only : เป็นโหมดการทดสอบด้วยราคาเปิดของแท่งเท่านั้น เหมาะสำหรับ EA ประเภทที่ให้ความสำคัญและ Action เฉพาะหลังราคาของแท่งก่อนหน้าจบและเริ่ม Action ที่ราคาเปิดของแท่งปัจจุบันเกิดขึ้นเท่านั้น



ติ๊กหัวข้อ "Use date" เพื่อระบุช่วงเวลาที่เราต้องการทดสอบ เวลาบนคอมพิวเตอร์เราจะต้องตั้งวันเดือนปีเป็น คริสตศักราช (ค.ศ.) ด้วยนะครับ ถ้าเป็น พุทธศักราช (พ.ศ.) จะไม่สามารถทดสอบได้



ถ้าเราติ๊กหัวข้อ "Visual mode" จะเป็นการโชว์กราฟให้เราเห็นการเคลื่อนที่ของราคาและการทำงานของ EA ตรงแถบแนวนอนเป็นตัวปรับระดับความเร็วของกราฟ ส่วนปุ่ม "Skip to" กรณีเราไม่ต้องการดูกราฟเคลื่อนที่แล้วและต้องการให้การทดสอบเร็วขึ้นก็กดปุ่มนี้ได้เลย ระบบจะทำการ Skip ไปถึงวันที่ด้านหลังซึ่งวันที่ระบบขึ้นมาให้จะเป็นวันสุดท้ายที่เราเลือกด้านบน



เลือก Time Frame ที่หัวข้อ "Period" ด้านขวามือ



หัวข้อ "Spread" ให้ใส่ตัวเลข Spread ที่เราต้องการทดสอบ ถ้าเลือกเป็น Current ระบบจะดึงค่า Spread ณ เวลานั้นมาทดสอบ

แนะนำให้ระบุตัวเลข Spread เข้าไปเลยตอนทดสอบ เพราะ EA บางตัวมีการกำหนดค่า Max Spread เอาไว้ แล้วสมมุติว่าเราทดสอบช่วงตลาดปิด Spread ของคู่เงินนั้นถูกถ่างออกเกินค่า Max Spread ของ EA ทำให้ไม่มีออเดอร์ตอนทดสอบได้

หรือถึงแม้ว่า Spread จะไม่เกินค่า Max Spread และสามารถเปิดออเดอร์ได้ แต่เราอาจจะทดสอบบนค่า Spread ที่สูงเกินกว่าความเป็นจริงได้ ดังนั้นผมจึงแนะนำให้คุณระบุค่าเข้าไปเลยจะดีกว่า



ตั้งค่าของ EA ที่หัวข้อ "Expert properties"



หน้าต่างการตั้งค่าของ EA จะขึ้นมา ให้แถบ "Testing" ให้ใส่จำนวนเงินที่ต้องการใช้ในการทดสอบที่ช่อง "Initial deposit"



หัวข้อ "Positions" ใช้เลือกโหมดออเดอร์ ซึ่งมีให้เลือก 3 แบบ เลือกตามความต้องการได้เลย



เมื่อตั้งค่าจำนวนเงินและ Positions แล้วก็ไปที่ "Inputs" ให้ตั้งค่าตรงหัวข้อ "Value" อีก 3 หัวข้อด้านหลังใช้สำหรับทำ Optimization เมื่อตั้งค่า EA ตามที่เราต้องการทดสอบได้เลย




ส่วน 3 เมนู "Symbol properties" และ "Open chart" และ "Modify expert" จะไม่ค่อยได้ใช้ ผมขอข้ามไปเลยนะครับ


เมื่อตั้งค่าต่างๆเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม "Start" มุมขวาล่างได้เลย

ตัวอย่างผมทดสอบ EA "Moving Average" ที่มีมาให้กับ MT4 และใช่ค่าเดิมไม่ได้ปรับอะไร ดังนั้นไม่ต้องสนใจเรื่องผลกำไรขาดทุนที่ออกมานะครับ ผมเพียงแค่ทำตัวอย่างให้ดูขั้นตอนเพียงเท่านั้น

เมื่อเรากดปุ่ม "Start" การทดสอบก็เริ่มทำงาน ซึ่งจะแถบด้านล่างเราสามารถเรียกดูได้ 4 หัวข้อ



หัวข้อ "Results" จะแสดงรายละเอียดของแต่ละออเดอร์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น



หัวข้อ "Graph" จะแสดงกราฟการเติบโตของพอร์ต



หัวข้อ "Report" จะแสดงข้อมูลเมื่อการทดสอบเสร็จแล้ว เรื่องการอ่าน Report ผมขอยกยอดไปอธิบายในบทความเกี่ยวกับโรบอทเทรดภายหลังนะครับ



หัวข้อ "Journal" จะแสดง Log การทำงานของ EA ซึ่งเราสามารถตรวจสอบการทำงานของ EA ว่าผิดปกติหรือไม่ได้ที่หน้านี้เช่นกัน




ในส่วนของ "Optimization" จะเป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการทำ Optimiz เพื่อสุ่มหาค่าพารามิเตอร์ของ EA ตามเงื่อนไขที่เรากำหนด ฟังก์ชั่นนี้จะ Advance ขึ้นไปอีกขั้น ซึ่งผมขอยังไม่อธิบายในตอนนี้นะครับ เอาไว้ผมเขียนบทความถึงเรื่องเกี่ยวกับโรบอทผมจะมาอธิบายให้ฟังกันอีกทีฝากติดตามกันด้วยนะครับ


ตอนนี้เราก็รู้ขั้นตอนการทำ Backtest ไปแล้ว สำหรับคนที่อยากทดสอบ EA หรือ Indicator ก็ลองเล่นกันดูได้เลย ขอให้สนุกกับการ Backtest นะครับ


- Purd Tanitas -


โหลด MT4 จากโบรกเกอร์ FBS ได้ ที่นี่
โหลด MT4 จากโบรกเกอร์ XM ได้ ที่นี่
โหลด MT4 จากโบรกเกอร์ Pepperstone ได้ ที่นี่


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 :  ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี? หลายคนข้องใจว่าจะตั้งค่า "Period" ของ...