วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?

หลายคนข้องใจว่าจะตั้งค่า "Period" ของ "Indicator" ยังไงดี? ใช้ตัวเลขเท่าไหร่ดี? มีหลักการคิดยังไง?

ภาพโดย : Purd Tanitas

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยมีคำถามแบบนี้ในหัวช่วงเริ่มต้น เวลาที่ศึกษาระบบเทรดจาก Youtube และแหล่งอื่นๆ อยากรู้ว่าตัวเลขเหล่านั้นเอามาจากไหน ใช้หลักการอะไรในการกำหนดตัวเลขดังกล่าว
เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างระบบเทรดมากขึ้น จึงได้เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น

วันนี้เลยอยากนำสิ่งที่ผมเข้าใจมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ฟังกัน เพื่อเป็น Guideline ให้เป็นไอเดียนำไปต่อยอดในการคิดระบบเทรดของตัวเองกันครับ

Period ในที่นี้คือ ค่าตัวเลขของ "จำนวนบาร์ หรือ แท่งเทียน" ที่จะให้ Indicator นำมาใช้คำนวณ โดยจะคำนวณย้อนหลังตามจำนวน Period ที่กำหนด

จริงๆแล้วตัวเลข Period ที่เป็นค่าเริ่มต้น มากับ Indicator แต่ละตัว เป็นค่าที่ผู้คิดค้นหรือเทรดเดอร์ส่วนมากคิดและทดสอบแล้วว่า เป็นค่าที่ใช้ได้ดีบน Time Frame D1

ถ้าคุณเคยศึกษาระบบเทรดมาบ้าง มักจะได้ยินเทรดเดอร์หลายๆคนเรียกค่า Period เป็น "วัน" ตัวอย่างเช่น ใช้เส้น EMA 100 วัน ความหมายคือ ใช้เส้น EMA Period 100

ภาพโดย : Purd Tanitas

ซึ่งจะฟังดูไม่ขัดแย้งถ้าคุณใช้ Time Frame D1 แต่ถ้าคุณใช้ Time Frame H1 อาจจะฟังดูขัดแย้งหรือสับสนอยู่บ้าง

เพราะถ้าคุณใช้ค่า 100 ใน Period ของ H1 มันคือการคำนวณย้อนหลัง 100 แท่ง นั่นก็หมายถึง 100 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณต้องการคำนวณที่ 100 วันจริงๆตาม Time Frame D1 คุณจะต้องคำนวณก่อนว่า 100 วันคิดเป็นจำนวนกี่ชั่วโมง ซึ่งคำตอบคือ 2,400 ชั่วโมงนั่นเอง

ดังนั้นค่า EMA 100 ของ D1 จะเทียบเท่ากับ EMA 2400 ของ H1

ภาพโดย : Purd Tanitas
คุณสังเกตเห็นอะไรมั๊ยครับ จากภาพเส้น EMA 2400 ใน H1 ซึ่งก็คือค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 100 วัน ในช่วงที่ราคาวิ่งเข้าใกล้เส้น EMA เส้นนี้มันก็สามารถใช้เป็นแนวรับแนวต้านที่มีนัยสำคัญใน H1 ได้เหมือนกัน


แล้วทีนี้เราจะเลือกใช้ค่า Period ยังไงดีล่ะ?
คำตอบ คือ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการนำไปใช้ มันไม่มีผิด ไม่มีถูก

แล้วมันเป็นยังไงกันล่ะ มาดูกันครับ


ตัวอย่างเช่น : สมมุติผมเทรดที่ TF H4 และต้องการดูค่าเฉลี่ยของราคา (MA) ย้อนหลัง 3 วัน และค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 1 เดือน ผมจะต้องตั้งค่า Period เท่าไหร่ มาดูวิธีคิดกันครับ

จากโจทย์ผมจะต้องสร้างเส้นค่าเฉลี่ยราคา (MA) ขึ้นมา 2 เส้น

ในตลาด Forex 1 วันมี 24 ชั่วโมง นำ 24 ชั่งโมง มาหาร 4 ชั่วโมง
แปลว่าใน 1 วันจะมีแท่ง H4 ทั้งหมด 6 แท่ง

ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 1 ย้อนหลัง 3 วัน ก็นำ 6 x 3 = 18

ตลาด Forex เปิดทำการ 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ 1 เดือนจะเปิดทำการเฉลี่ย 20 วัน
ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 2 ย้อนหลัง 1 เดือน ก็นำ 6 x 20 = 120

สรุปคือผมจะต้องตั้งค่า MA เส้นที่ 1 Period = 18 และ MA เส้นที่ 2 Period = 120

ภาพโดย : Purd Tanitas

ภาพแสดงเส้น MA Period 18 (เส้นแดง) บน TF H4 จุดประสงค์เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 3 วัน และเส้น MA Period 120 (เส้นดำ) บน TF H4 เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 1 เดือน



มาดูอีกสักหนึ่งตัวอย่างใน TF ที่เล็กลงมาหน่อย : สมมุติผมต้องการเทรดที่ TF M15 แล้วต้องการดูค่าเฉลี่ยของราคา (MA) ย้อนหลัง 4 ชั่วโมง และ 1 วัน ผมต้องตั้งค่า Period เท่าไหร่?

จากโจทย์ผมจะต้องสร้างเส้นค่าเฉลี่ยราคา (MA) ขึ้นมา 2 เส้น

MA เส้นที่ 1 คิดดังนี้
1 ชั่วโมงมี 60 นาที นำ 60 นาที มาหาร 15 นาที
แปลว่าใน 1 ชั่วโมง จะมีแท่ง M15 ทั้งหมด 4 แท่ง

ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 1 ย้อนหลัง 4 ชั่วโมง ก็นำ 4 x 4 = 16

MA เส้นที่ 2 คิดดังนี้
จากด้านบน 1 ชั่วโมง จะมีแท่ง M15 ทั้งหมด 4 แท่ง 1 วันมี 24 ชั่วโมง

ดังนั้นเส้นค่าเฉลี่ย MA เส้นที่ 2 ย้อนหลัง 1 วัน ก็นำ 4 x 24 = 96

สรุปคือผมจะต้องตั้งค่า MA เส้นที่ 1 Period = 16 และ MA เส้นที่ 2 Period = 96

ภาพโดย : Purd Tanitas
ภาพนี้แสดงเส้น MA Period 16 (เส้นแดง) บน TF M15 จุดประสงค์เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 4 ชั่วโมง และเส้น MA Period 96 (เส้นดำ) บน TF M15 เพื่อดูค่าเฉลี่ยราคาย้อนหลัง 1 วัน



เป็นยังไงบ้างครับเริ่มจะเข้าใจหลักการคิดมากขึ้นบ้างมั๊ย เมื่อเข้าใจหลักการคิดแล้วทีนี้ก็น่าจะนำไปปรับใช้กันได้ดีขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าค่าของ Period ที่เราตั้งมีจุดประสงค์เพื่อดูค่าอะไร โดยที่ไม่ต้องมโนตัวเลขขึ้นมาเองอีกต่อไปแล้ว


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ช่วยให้ได้ไอเดียในการปรับค่า Period ใน Indicator ได้เหมาะสมและมีหลักการมากขึ้นนะครับ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยอะไร หรือใครมีความเห็นเพิ่มเติมสามารถ Comment ใต้บทความนี้ได้เลยนะครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 39 : ใช้ Pin Bar และ Reversal Bar เทรดคู่กับ Trend Line และ เส้น MA อย่างไร?


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 39
ใช้ Pin Bar และ Reversal Bar เทรดคู่กับ Trend Line และ เส้น MA อย่างไร?

ในตอนนี้ผมจะยกตัวอย่าง "การใช้ Pin Bar และ Reversal Bar คู่กับ Trend Line และ เส้น MA" เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้นนะครับ

จริงๆแล้ว Pin Bar อาจเกิดขึ้นบนรูปแบบของ Reversal Bar ด้วยก็ได้ ยิ่งทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน และอยู่ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มแล้ว สัญญาณนั้นจะยิ่งมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างแรก : จะเป็น การนำ Pin Bar และ Reversal Bra มาใช้คู่กับ Trend Line ซึ่งเส้นเราอาจจะตีเส้นเดียวหรือตีเส้นคู่ขนานก็ได้แล้วแต่ความถนัด Trend Line จะทำให้เราเห็นแนวโน้มชัดมากขึ้น

หากเป็นแนวโน้มขาขึ้น เราจะรอให้ราคาวิ่งเข้าใกล้เส้นแนวรับ (Support) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar เราจึงใช้สัญญาณนั้นเป็น Signal และ Trade Setup

ภาพโดย : Purd Tanitas

โดยวิธีเปิดออเดอร์ผมจะเข้าด้วยการวาง Pending Order ไว้ด้านบน สูงกว่า High ของแท่งที่เป็น Trade Setup เล็กน้อย แล้ววาง Stoploss ไว้ต่ำกว่า Low ลงมาเล็กน้อยเช่นกัน ที่ต้องให้ห่างเล็กน้อยเป็นการเผื่อ Buffer ไว้กันโดนเกี่ยวกรณีที่ราคามาทดสอบแนวรับตรงจุด Low เดิมของแท่ง Trade Setup แต่ราคาไม่ได้เบรกแนวนั้นจริงๆ แล้วเด้งกลับไปตามแนวโน้มเดิม

ภาพโดย : Purd Tanitas


เรามาดูแนวโน้มขาลงกันบ้าง เราจะรอให้ราคาวิ่งเข้าใกล้เส้นแนวต้าน (Resistance) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar เราจึงใช้สัญญาณนั้นเป็น Signal และ Trade Setup

ภาพโดย : Purd Tanitas

โดยวิธีเปิดออเดอร์ผมจะเข้าด้วยการวาง Pending Order ไว้ด้านล่างต่ำกว่า Low ของแท่งที่เป็น Trade Setup เล็กน้อย แล้ววาง Stoploss ไว้สูงกว่า High ขึ้นไปเล็กน้อยเช่นกัน

ภาพโดย : Purd Tanitas



ตัวอย่างที่สอง : จะเป็น การนำ Pin Bar และ Reversal Bar มาใช้คู่กับเส้น MA

ซึ่งหลักการก็จะคล้ายกันกับการใช้ Trend Line เพียงแค่เปลี่ยนเครื่องมือในการหาแนวรับแนวต้านมาเป็นเส้น MA นั้นเอง โดยวิธีนี้ช่วยให้คนที่ตีเส้น Trend Line ไม่ค่อยชำนาญสามารถหาแนวรับแนวต้านได้ไม่ยากเลย

จุดสังเกตในแนวโน้มขาขึ้นก็คือเส้น MA จะต้องเอียงขึ้นในองศาที่เหมาะสม ไม่น้อยเกินไปและไม่ชันเกินไป และราคาอยู่เหนือเส้น MA เราจะรอให้ราคาเข้าใกล้เส้น MA ซึ่งทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรับ (Support) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar

ภาพโดย : Purd Tanitas


ส่วนแนวโน้มขาลงก็กลับกัน คือ เส้น MA จะต้องเอียงลงในองศาที่เหมาะสม ไม่น้อยไปและไม่ชันเกินไป ราคาอยู่ใต้เส้น MA เราก็จะรอให้ราคาเข้าใกล้เส้น MA ซึ่งทำหน้าที่เป็นเส้นแนวต้าน (Resistance) แล้วเกิดสัญญาณ Pin Bar หรือ Reversal Bar

ภาพโดย : Purd Tanitas

เพื่อความกระชับ Trade setup และจุดเข้ากับ Stoploss จะเหมือนที่อธิบายไปแล้วข้างบนเลยนะครับ


อย่าลืมคำนวณ Lot Size ที่การเปิดออเดอร์โดยใช้ Money Management ด้วยนะครับ

สำหรับจุด Take Profit แล้วแต่กลยุทธ์ของแต่ละคน ส่วนตัวผมส่วนมากจะใช้ Let Profit Run รอจนกว่าจะมีสัญญาณปิดออเดอร์จาก Indicator ทำให้บางเทรดมี Risk : Reward เกิน 1:5 เลยทีเดียว


ในตอนนี้ผมขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ช่วยให้ได้ไอเดียในการ Setup ระบบเทรดของตัวเองได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนะครับ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยอะไร หรือใครมีความเห็นเพิ่มเติมสามารถ Comment ใต้บทความนี้ได้เลยนะครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 38 : Reversal Bar


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 38

Reversal Bar

ในตอนนี้เรามาดูกันต่อในเรื่องของ "Reversal Bar" ซึ่งเป็น Price Action ที่น่าสนใจรูปแบบหนึ่งที่ใช้ดูเป็นสัญญาณการกลับตัว

การกลับตัวมี 2 แบบด้วยกัน คือ "กลับเพื่อตามแนวโน้ม" และ "กลับเพื่อสวนแนวโน้ม"

จริงๆจะเทรดตามแบบไหน ก็ไม่มีผิด ไม่มีถูก นะครับ มันอยู่ที่กลยุทธ์ที่คุณใช้มากกว่า ว่าคุณต้องการจะเทรดตาม หรือเทรดสวน แต่โดยมากการเทรดตามแนวโน้มจะมีความปลอดภัยกว่า การสวนแนวโน้มมักจะเป็นเรื่องของรายใหญ่ที่มีการวางเงินตามจุดต่างๆ

ส่วนตัวผมจะให้ความสำคัญการเทรดตามแนวโน้มมากกว่า

รูปแบบ Reversal Bar มีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่ผมจะพูดถึงและใช้งานอยู่เป็นประจำคือรูปแบบตามภาพด้านล่างนี้เลยครับ

ภาพโดย : Purd Tanitas

เรามาดูรูปแบบ Bullish Reversal กันก่อนนะครับ ซึ่งจะอยู่ทางด้านซ้ายของภาพ

ความหมายมีดังนี้ คือ แท่งที่ 1 จะเกิดอย่างไรก็ได้ สำคัญคือแท่งที่ 2 ราคาเปิดจะต้องสูงกว่า Low ของแท่งที่ 1 และราคาของแท่งที่ 2 มีการเบรกต่ำลงไปกว่า Low ของแท่งที่ 1  แต่ก็มีแรงซื้อกลับคืนมาจนราคาปิดสูงกว่า Low ของแท่งที่ 1

เราจึงเข้าที่การเทรดในแท่งที่ 3 และวางตำแหน่ง Stoploss ไว้ที่ Low ของแท่งที่ 2
สังเกตในภาพผมจะวางตำแหน่ง Stoploss ไว้ต่ำกว่า Low ของแท่งที่ 2 ลงไปอีกเป็นการเผื่อระยะ Buffer เพิ่มอีกเล็กน้อย กรณีที่ราคาอาจมีการลงมาทดสอบแนวรับบริเวณ Low เดิมแล้วเด้งกลับ ออเดอร์จะได้ไม่โดน Stoploss ง่ายเกินไป


ต่อมาเป็นรูปแบบ Bearish Reversal ทางด้านขวาของภาพ คล้ายกันกับ Bullish Reversal แค่กลับหัวกัน

ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นตามนี้คือ แท่งที่ 1 จะเกิดอย่างไรก็ได้ สำคัญคือแท่งที่ 2 ราคาเปิดจะต้องต่ำกว่า High ของแท่งที่ 1 และราคาของแท่งที่ 2 มีการเบรกขึ้นไปสูงกว่า High ของแท่งที่ 1  แต่ก็มีแรงเทขายกลับคืนมาจนราคาปิดต่ำกว่า High ของแท่งที่ 1

เราจึงเข้าที่การเทรดในแท่งที่ 3 และวางตำแหน่ง Stoploss ไว้ที่ High ของแท่งที่ 2
ตามภาพผมก็วางตำแหน่ง Stoploss ไว้สูงกว่า High ของแท่งที่ 2 ขึ้นไปอีกเป็นการเผื่อระยะ Buffer ด้วยเช่นเดียวกัน


ข้อแนะนำในการเทรดด้วย Reversal Bar เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น

1.สัญญาณ Reversal Bar จะแม่นยำมากขึ้นเมื่อใช้ในการเทรดตาม Trend หากใช้ Reversal Bar ในการเทรดสวน Trend มีโอกาสเจอสัญญาณหลอกได้บ่อย

2. การเทรดด้วย "Price Action" หรือ "Price Pattern" ให้แม่นยำควรใช้กับ Time Frame ใหญ่ๆอย่าง D1 เล็กสุดไม่ควรต่ำกว่า H4
เพราะ Time Frame ยิ่งเล็กลงเท่าไหร่ เราจะยิ่งเจอสัญญาณหลอกได้บ่อยมากขึ้นเท่านั้น

3. แท่งที่ 2 ที่เราใช้เป็น Trade Setup จุดเปิดออเดอร์ เราสามารถเข้าได้ 3 วิธี


  • วิธีแรกเข้าที่ราคาเปิดของแท่งที่ 3 เลย
  • วิธีที่สองใช้การวาง Pending Order ไว้บริเวณ High ของแท่งที่ 2 สำหรับ Bullish Reversal และวาง Pending Order ไว้บริเวณ Low ของแท่งที่ 2 สำหรับ Bearish Reversal โดยการวาง Pending Order วิธีนี้ควรเผื่อ Buffer ด้วย
  • วิธีที่สามวาง Pending Order ไว้ที่ Low ของแท่งที่ 1 สำหรับ Bullish Reversal และวาง Pending Order ไว้ที่ High ของแท่งที่ 1 สำหรับ Bearish Reversal วิธีนี้ไม่ต้องเผื่อ Buffer


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านได้นำ Reversal Bar ไปปรับใช้ในการเทรดให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 37 : Pin Bar

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 37

Pin Bar

หลังจากที่ผมได้พูดถึงเรื่อง "Price Action" ไปในตอนที่ 34-35 ในตอนนี้เลยนำเรื่อง Price Action มาพูดให้ฟังกันสักหน่อย ปกติแล้วเรื่องของ Price Action มันมีรูปแบบที่เยอะมาก หลากหลายรูปแบบจนจำกันได้ไม่หมด

ในเนื้อหา "Price Action" ผมจึงจะขอพูดถึงรูปแบบราคาที่ผมใช้บ่อยอย่าง "Pin Bar" และ "Reversal Bar" ให้ฟังก่อนนะครับ ซึ่งรูปแบบทั้ง 2 จะนำมันมาใช้ประกอบการตัดสินใจคู่กับ แนวรับแนวต้าน หรือ Indicator อื่นด้วย (ขึ้นอยู่กับแต่ละกลยุทธ์)

Pin Bar ถือเป็นสัญญาณที่ดูง่าย และค่อนข้างแม่นยำ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้ Pin Bar เป็นสัญญาณสำคัญของ Price Action

รูปแบบของ Pin Bar จะมี 2 ลักษณะตามรูปด้านล่าง คือ "Bullish Pin Bar" และ "Bearish Pin Bar"


ภาพโดย : Purd Tanitas


มาดู "Bullish Pin Bar" กันก่อน จากรูปด้านบนจะอยู่ทางฝั่งซ้าย สังเกตว่าจะมีแท่งเทียน 2 แบบ คือ
แดง กับ เขียว เป็นสัญญาณที่ใช้ในการเทรดทำกำไรขาขึ้น

ความหมายของแท่งสีแดง คือ หลังราคาเปิดแล้วมีแรงเทขายจำนวนมากทำให้ราคาลงมาต่ำ หลังจากนั้นก็มีแรงซื้อกลับคืนมา ทำให้เกิดหางยาวด้านล่างและสุดท้ายจบแท่งเทียนโดยราคาปิดอยู่ต่ำกว่าราคาเปิดเล็กน้อย

ส่วนความหมายของแท่งสีเขียว ก็คล้ายกับแท่งสีแดงที่อธิบายไป แต่จะจบแท่งโดยราคาปิดอยู่สูงกว่าราคาเปิด ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วระหว่างแท่งสีแดงและแท่งสีเขียว แท่งสีเขียวถือว่าจะสัญญาณที่มีนำหนักดีกว่า

ส่วน "Bearish Pin Bar" อยู่ทางด้านขวาของรูป มีแท่งเทียน 2 แบบเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ใช้ในการเทรดขาทำกำไรขาลง

ความหมายของแท่งสีแดง คือ หลังราคาเปิดแล้วมีแรงซื้อเข้ามาจำนวนมากทำให้ราคาขึ้นไปสูง หลังจากนั้นก็มีแรงเทขายออกมามาก ทำให้เกิดหางยาวด้านบนและสุดท้ายจบแท่งเทียนโดยราคาปิดอยู่ต่ำกว่าราคาเปิดเล็กน้อย

ส่วนความหมายของแท่งสีเขียว ก็คล้ายกับแท่งสีแดงอีกเช่นกัน แต่จะจบแท่งโดยราคาปิดอยู่สูงกว่าราคาเปิด ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วระหว่างแท่งสีแดงและแท่งสีเขียว แท่งสีแดงถือว่าจะสัญญาณที่มีนำหนักดีกว่า


ข้อแนะนำในการนำ Pin Bar มาใช้ในการเทรด คือ


  • สัญญาณจาก Pin Bar ที่ดีจะต้องเกิดขึ้นสอดคล่องกับ Trend (แนวโน้ม) หลักด้วย หาก Pin Bar เกิดขึ้นสวนทางกับ Trend (แนวโน้ม) Pin Bar นั้นจะไม่ถือเป็นสัญญาณในการเข้าเทรด แต่จะเป็นสัญญาณหลอกเสียมากกว่า
  • การเทรดด้วย "Price Action" หรือ "Price Pattern" ให้แม่นยำควรใช้กับ Time Frame ใหญ่ อย่าง D1 เล็กสุดไม่ควรต่ำกว่า H4 เพราะ Time Frame ยิ่งเล็กลงเท่าไหร่ เราจะยิ่งเจอสัญญาณหลอกได้บ่อยมากขึ้นเท่านั้น


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านได้นำ Pin Bar ไปปรับใช้ในการเทรดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ

- Purd Tanitas -


เปิดบัญชีเทรด FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเทรด Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 36 : Indicator


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 36

ตอนนี้ถือเป็น Part สุดท้ายของตอนที่ 34
ใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่ 34 สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ ที่นี่ เลยนะครับ
ส่วนตอนที่ 35 ก็ คลิกที่นี่ เลยครับ

ในตอนนี้ผมขอยังไม่ลงลึกในเรื่องของ Indicator แต่ละตัวมากนักนะครับ ขอพูดคร่าวๆในส่วนของ Indicator ที่ช่วยในการบอก Trend (แนวโน้ม) ก่อน เพื่อให้ต่อเนื่องกันกับตอนที่ 34-35

เรามาเริ่มกันเลย...

Indicator คือ เป็นเครื่องมือหรือตัวชี้วัด ที่ช่วยในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยนำข้อมูลดิบอย่างราคาหรือปริมาณการซื้อขาย มาคำนวณด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์หรือสูตรทางสถิติที่คิดค้นขึ้น ซึ่งแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของ Indicator แต่ละตัว



Indicator ที่นิยมใช้กันในตลาด Forex มี 2 ประเภท หลักๆ คือ

  • Trend (แนวโน้ม)
  • Oscillators (การแกว่งตัว)


Indicator ประเภท Trend จะใช้งานได้ผลดีในช่วงที่ "ตลาดเป็น Trend" ไม่ว่าจะเป็นทิศทางขาขึ้น หรือ ขาลง แต่จะได้ผลไม่ดีนักหากตลาดช่วงนั้น Sideway (ไม่มีแนวโน้ม) เพราะจะเจอสัญญาณหลอกบ่อยครั้ง

และ Indicator ประเภท Trend มีหลายตัว และที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ "Moving Average" หรือ "เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่" ซึ่งเป็นการนำราคาย้อนหลังตามจำนวนที่ต้องการมาหาค่าเฉลี่ย



การนำ "เส้น MA" มาใช้ในการเทรดขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคน มีทั้ง 1 เส้น 2 เส้น หรือ 3 เส้น เป็นต้น

เทคนิคการเทรดด้วย MA 1 เส้น ก็จะใช้การดูราคาว่าอยู่เหนือหรืออยู่ต่ำกว่าเส้น หากราคาอยู่เหนือเส้นก็จะหาจังหวะในการเทรดทำกำไรขาขึ้น หากอยู่ต่ำกว่าเส้นก็จะหาจังหวะในการเทรดทำกำไรขาลง

ภาพโดย : Purd Tanitas



เทคนิคการเทรดด้วย MA 2 เส้น จะใช้เส้นสั้นคู่กับเส้นยาว เช่น MA 10 และ MA 50 บางเทคนิคใช้จังหวะการตัดกันของเส้นเป็นสัญญาณในการเข้าเทรด เส้นสั้นตัดขึ้นเทรดทำกำไรขาขึ้น เส้นสั้นตัดลงเทรดทำกำไรขาลง แต่เทคนิคนี้อาจจะเจอสัญญาณหลอกบ่อยหากราคาเข้าช่วง Sideway

ภาพโดย : Purd Tanitas



ส่วนบางเทคนิคจะใช้เพื่อดูเทรนและหาจังหวะในการเทรด คือ เมื่อเส้นสั้นอยู่เหนือเส้นยาวจะหาจังหวะในการเข้าเทรดทำกำไรขาขึ้น หากเส้นสั้นอยู่ต่ำกว่าเส้นยาวก็จะหาจังหวะในการเทรดทำกำไรขาลง

ภาพโดย : Purd Tanitas



ส่วนเทคนิคการเทรดด้วย MA ที่มากกว่า 2 เส้นขึ้นไปก็จะคล้ายๆกับหลักการแบบ MA 2 เส้น แล้วแต่ว่าใครจะนำมาประยุกต์ใช้แบบไหน


ข้อแนะนำ สำหรับการหาจังหวะที่ใช้เป็นสัญญาณในการเทรดควรนำ "Price Action" เข้ามาประกอบการตัดสินใจด้วย จะช่วยลดสัญญาณหลอกลง ช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น


ส่วน Indicator ประเภท Oscillators เหมาะสำหรับการเทรดในตลาดที่แกว่งตัวอย่างไร้ทิศทาง หรือที่เรียกว่า Sideway เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถใช้รับมือกับความผันผวนของตลาด Sideway ได้ง่ายขึ้น มักจะนำมาใช้ประกอบเทคนิคในการเทรดแบบ Swing Trade ในช่วงตลาด Sideway และก็มีเทรดเดอร์หลายคนนำมาใช้ควบคู่กับ Indicator ประเภท Trend เพื่อช่วยกรองสัญญาณหลอกบางตัวออกด้วยเหมือนกัน

Indicator ประเภท Oscillators ที่นิยมใช้กัน คือ "MACD"  "RSI" และ "Stochastic"

ภาพ MACD สร้างโดย Purd Tanitas



ภาพ RSI สร้างโดย Purd Tanitas



ภาพ Stochastic สร้างโดย Purd Tanitas



ข้อแนะนำก่อนนำ Indicator มาใช้ในการเทรด คือ
  • ควรศึกษา "หลักการ" หรือ "ที่มา" ของ Indicator ตัวที่จะเลือกใช้ให้เข้าใจก่อนว่า สร้างขึ้นมาด้วยหลักการแนวคิดอะไร เพื่อจะได้นำมาใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิดของ Indicator ตัวนั้นๆ
  • หากคุณต้องการใช้ Indicator ประเภทใด คุณก็ควรเลือกใช้ Indicator ประเภทนั้นเพียง "ตัวเดียวก็พอ" ไม่ควรใช้ Indicator ประเภทเดียวกันหลายๆตัว


ยกตัวอย่าง เช่น ผมต้องการใช้ Indicator ประเภท Trend คู่กับ Oscillators ผมก็จะเลือกใช้เพียงอย่างละ 1 ตัว คือ MA กับ Stochastic เท่านั้น

ผมจะไม่ใช้ Indicator ประเภทเดียวกันหลายๆตัว เพราะ Indicator แต่ละตัวนั้นสร้างขึ้นมาจากแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป หากนำมาใช้พร้อมๆกันมันย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในตัว

ทำให้แทนที่จะได้สัญญาณเทรดที่ดี กลับได้สัญญาณเทรดที่แย่และสัญญาณที่น้อยลง เพราะกว่าทุกตัวจะเข้าเงื่อนไขพร้อมๆกัน จังหวะสัญญาณสวยๆก็ผ่านพ้นไปแล้ว


สำหรับตอนนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ไว้ผมจะมาเขียนลงรายละเอียดใน Indicator แต่ละตัวอีกครั้งในตอนต่อๆไปนะครับ

หวังว่าบทความนี่จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านได้ไอเดียในการใช้งาน Indicator และเทคนิคในการเทรดมากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 35 : Trend Line หรือ เส้นแนวโน้ม


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 35

ตอนนี้ต่อเนื่องจากตอนที่ 34 ใครยังไม่ได้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ ที่นี่ เลยครับ ส่วนคนที่อยากไปต่อกันแล้วเรามาเริ่มกันเลย

Trend Line คือ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้การลากเส้นเพื่อหาแนวโน้มของราคา เพื่อหา แนวรับ (Support) แนวต้าน (Resistance) ถือว่าเป็นเทคนิคที่ง่าย และ Basic ที่มีประสิทธิภาพเทคนิคหนึ่งในการวิเคราะห์ด้วยกราฟเลยก็ว่าได้

เชื่อมั๊ยครับว่าคำถามเกี่ยวกับ Trend Line ที่ถามกันบ่อยนั้น ก็คือ "ลากเส้นแบบนี้ถูกมั๊ย?"

คำตอบคือ "ไม่มีใครที่ลากเส้น Trend Line ผิด"  ใช่ครับ เรื่องนี้เป็นความจริง!!  พูดง่ายๆก็คือ มันเป็นศิลปะ ไม่มีผิด ไม่มีถูก

"การลากเส้น Trend Line ไม่มีกฏ (Rule) ตายตัว มีแต่ข้อแนะนำ (Guideline) ให้เป็นไอเดียในการฝึกลากเส้น Trend Line เพื่อใช้ในการเทรดจริง"


ข้อแนะนำในการลากเส้น Trend Line จะมีหลักการลากกันประมาณนี้ครับ

  • ก่อนลากเส้น ควรมองภาพใหญ่แนวโน้มให้ออกก่อน
  • ควรลากเส้นสัมผัสระหว่างจุดต่ำสุดจุดหนึ่งไปจุดต่ำสุดอีกจุดหนึ่ง สำหรับเส้น Trend Line ขาขึ้น และลากเส้นสัมผัสระหว่างจุดสูงสุดหนึ่งไปจุดสูงสุดหนึ่ง สำหรับ Trend Line ขาลง
  • ยิ่งลากเส้น Trend Line สัมผัสจุดได้มากกว่า 2 จุดยิ่งดี เพราะยิ่งจุดสัมผัสของเส้น Trend Line มากขึ้นก็จะถือว่าเส้นนั้นมีนัยสำคัญ แสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มมากขึ้นด้วย


  • นิยมลากเส้นขนานเส้นแนวโน้มควบคู่กันไปด้วย ถ้าทำได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรอีกเช่นกัน เพราะบางทีกราฟก็จะขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ในกรอบเส้นขนานที่ลากได้ บางทีก็ไม่อยู่ในกรอบ


  • บางครั้งการลากจุดสัมผัสบางจุดราคาอาจจะหลุดออกนอกเส้นไปบ้างก็ถือว่าไม่เป็นไร หรือบางจุดราคาอาจจะเข้าใกล้เส้นแนวโน้มแต่ก็ไม่สัมผัสกันพอดีแบบนี้จะถือว่ายังพอใช้ได้



เทคนิคการเทรดด้วยเส้นแนวโน้ม หรือ Trend Line : เวลาที่ลากเส้น  Trend Line ขึ้นมาได้ ให้สังเกตลักษณะ ต่าง ๆ ดังนี้ เพื่อใช้เป็นไอเดียในการเทรด คือ

1. ทิศทางของเส้น Trend Line มีแนวโน้มของเทรนเป็นอย่างไร? ขาขึ้น (Up Trend) ขาลง (Down Trend) หรือ ไม่มีแนวโน้ม (Sideways)

ข้อแนะนำ คือ ควรเทรดในทิศทางเดียวกับแนวโน้ม การเทรดตรงข้ามกับทิศทางของแนวโน้มในปัจจุบัน มีโอกาสขาดทุนมากกว่าโอกาสกำไร




2. ความชันของเส้น Trend Line เป็นอย่างไร? เอาไว้ดูว่าราคาขึ้นหรือลงเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป หรือกำลังดี ถ้าเส้นมีความชันมากๆ หมายความว่าราคามีการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงด้วยความเร็วและแรง นั้นหมายความว่าแนวโน้มนั้นก็มีโอกาสที่จะจบลงเร็วด้วยเช่นกัน



ความชันที่มากๆนั้นจึงไม่ค่อยจะมีความแม่นยำสักเท่าไหร่ ดังนั้นเส้น Trend Line ที่ดีไม่ควรจะมีความชันมากนัก แต่ก็ไม่ควรจะน้อยจนเกือบขนานเป็นแนวนอนด้วยเช่นกัน



องศาความชันของเส้น Trend Line ประมาณ 45 องศา เป็นเส้น Trend Line ที่กำลังดีสำหรับเทรดเดอร์หลายๆคน เพราะแนวโน้มนั้นแสดงถึงความไม่รีบร้อนหรือเฉยชาจนเกินไป



3. ถ้าราคากลับเข้ามาใกล้เส้น Trend Line ก็มีโอกาสที่จะกลับตัวแล้วไปต่อ ในทิศทางของเส้น  Trend Line แต่ถ้าราคาอยู่ห่างเส้น Trend Line มาก ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ามาหาเส้น Trend Line

เทคนิคที่ใช้ในการเทรดเมื่อราคากลับเข้ามาใกล้เส้น Trend Line เพื่อหาจังหวะเข้าเทรดในทิศทางเดียวกับแนวโน้ม ให้สังเกต Price Action ประกอบการตัดสินใจด้วยเพื่อความแม่นยำ

โดย Price Action ต้องมีสัญาณการกลับตัวในทิศทางนั้นๆด้วย (เรื่อง Price Action จะเขียนให้อ่านในครั้งต่อๆไปนะครับ)



4. ถ้าราคาเบรกเส้น Trend Line สามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนว่าอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือใช้ปิดออเดอร์เพื่อทำกำไร แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าทิศทางของแนวโน้มราคาจะต้องเปลี่ยน 100%  นะครับ เราจะรู้ว่าแนวโน้มของราคาเปลี่ยนแปลงทิศทางจริงหรือไม่ ต้องรอให้เวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งจึงจะรู้




หวังว่าบทความนี่จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีในการลากเส้น  Trend Line และเทคนิคในการเทรดมากขึ้นนะครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ Comment ถามที่ใต้บทความเลยครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตามบทความ


- Purd Tanitas -


เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 :  ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี? หลายคนข้องใจว่าจะตั้งค่า "Period" ของ...