วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562
"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 14 : "ศัพท์เบื้องต้นที่ควรรู้"
"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 14
"ศัพท์เบื้องต้นที่ควรรู้" ในตลาด Forex มีอะไรบ้าง?
เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาดูกันเลยครับ ว่ามีคำศัพท์อะไรบ้าง ที่ควรรู้ในช่วงเริ่มต้น
# Lot หรือ Lot Size คือ ขนาดของคำสั่งที่ใช้ในการเปิดออเดอร์
ในตลาด Forex สามารถเปิดออเดอร์ด้วยขนาดของคำสั่งได้ 2 แบบ คือ Lot และ Unit
โดยส่วนใหญ่แล้วเทรดเดอร์มักจะรู้จักและคุ้นเคยกับ Lot มากกว่า Unit เพราะวิธีคิดคำนวณมันง่ายกว่า จึงเป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันมากกว่า Unit นั่นเอง
# Spread คือ ส่วนต่างระหว่างราคา Bid (ราคาขาย) กับ Ask (ราคาซื้อ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการคิดค่าธรรมเนียมของโบรกเกอร์ในการทำธุรกรรม
Spread สูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับแต่ละสกุลเงินไม่ตายตัว สกุลเงินที่มีความนิยมซื้อขายมาก ก็จะมีค่าธรรมเนียม Spread ที่ต่ำลง
ในคู่เงินเดียวกัน แต่ละโบรกเกอร์ก็อาจจะมีค่า Spread ที่ไม่เท่ากัน เป็นเพราะการคิดค่าธรรมเนียมของแต่ละโบรกเกอร์ไม่เท่ากันนั่นเอง
ดังนั้นหากคุณจะคาดหวังที่จะเห็นราคาคู่เงินเดียวกันของแต่ละโบรกเกอร์เท่ากันตลอดแล้วล่ะก็ มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
# Leverage คือ อัตราส่วนที่ได้ยืมจากโบรกเกอร์ เพื่อใช้ในการเปิดออเดอร์ ช่วยให้นักลงทุนใช้เงินน้อยลงในการเปิดออเดอร์
เพราะถ้าหากคุณไม่ใช้ Leverage ใช้อัตราส่วน 1:1 ในการเปิดออเดอร์ในตลาด Forex คุณจะต้องใช้เงินในการเปิดคำสั่ง 1 Lot สูงถึง 100,000 USD เลยทีเดียว
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมในอดีต นักลงทุนรายย่อยจึงไม่สามารถเข้าถึงตลาด Forex ได้
# Take Profit มักเรียกย่อๆว่า TP คือ จุดทำกำไร
# Stoploss มักเรียกย่อๆว่า SL คือ จุดตัดขาดทุน
# Pip คือ หน่วยการเคลื่อนตัวของคู่เงิน ซึ่งจำนวนจุดทศนิยมที่น้อยที่สุดของคู่เงินนั้นๆ (เรื่องนี้ผมจะมาอธิบายให้เข้าใจอีกทีในตอนต่อๆไปนะครับ)
# Swap คือ ดอกเบี้ยที่เราจะ "ได้" หรือ "เสีย" เมื่อเราเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน
อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคารเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยของคู่เงินเดียวกัน ในแต่ละโบรกเกอร์ก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโบรกเกอร์ด้วยเช่นกัน
# Balance คือ ยอดเงินที่ "ยังไม่รวม" กำไรขาดทุน ของสถานะออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่
# Equity คือ ยอดเงินที่ "รวม" กำไรขาดทุน ของสถานะออเดอร์ที่กำลังเปิดอยู่
# Margin เสมือนค่ามัดจำ ที่เราต้องใช้ในการเปิดออเดอร์แต่ละครั้ง
ซึ่งเราจะใช้ Margin ในการเปิดออเดอร์มากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ Leverage ที่เราใช้เป็นหลัก และเรื่องนี้ผมจะมาอธิบายในตอนต่อๆไปเช่นกันนะครับ
# Free Margin คือ ยอด Margin ที่เหลือ เมื่อนำ Equity มาหักลบกับ Margin แล้ว
# Margin Level คือ เปอร์เซ็นต์ที่บอกระดับ Margin ของเราว่าเหลือกี่ % หลังจากที่เราเปิดออเดอร์ไปแล้ว หากระดับ Margin ต่ำกว่าที่โบรกเกอร์กำหนด ก็จะถูกเตือนเรียกว่า "Margin Call"
# Margin Call คือ เหมือนสัญญาณเตือนว่า ตอนที่พอร์ตของเรามีเงินอยู่ในระดับต่ำ โบรกเกอร์จะจำกัดความเสี่ยง ด้วยการให้ฝากเงินเพิ่มหรือไม่ก็ปิดทุกออเดอร์ของเรา
เช่น บางโบรกเกอร์จะเตือนเมื่อต่ำกว่า 50% และจะถูกบังคับขาย (Force Sell) เมื่อต่ำกว่า 30% ซึ่งตัวเลขเหล่านี้โบรกเกอร์เป็นผู้กำหนด เราสามารถสอบถามทางโบรกเกอร์ที่เราเลือกใช้ได้เลย หากเราหาข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ไม่เจอ
แต่ทางที่ดีอย่าปล่อยให้ระดับเงินของเราต่ำถึงจุดนี้เลยจะดีที่สุด เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจะทำให้พอร์ตของคุณขาดทุนไปเยอะมาก
หากคุณใช้ "Money Management" ในการควบคุมความเสี่ยง มีการตั้งจุดตัดขาดทุน (Stoploss) เงินของคุณก็จะไม่ลดลงมาต่ำจนเจอกับ Margin Call และโดน Force Sell ยังไงล่ะครับ
ยังมีคำศัพท์อื่นอีกมาก แต่สำหรับมือใหม่ผมคิดว่า รู้คำศัพท์เพียงเท่านี้ก่อนก็น่าจะเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นแล้วครับ อีกอย่างคุณจะได้ไม่มึนจนเกินไปด้วย
ถ้ายังจำกันไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องแปลก หากคุณได้เริ่มต้นเทรดจริงๆ ก็จะได้เจอมันบ่อยขึ้น เดี๋ยวก็จำมันได้เองแหละครับ
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
- Purd Tanitas -
Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?
"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี? หลายคนข้องใจว่าจะตั้งค่า "Period" ของ...

-
"ขั้นตอนการ Backtest ด้วย MT4 ทำอย่างไร?" Part # 3 หลังจากที่เราเตรียมข้อมูลราคากันเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้มาดู "ขั้นตอนการท...
-
"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 10 เรามาดู "เวลาทำการของตลาด Forex" กันครับว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง? ตลาด Forex เปิดท...
-
"ขั้นตอนการ Backtest ด้วย MT4 ทำอย่างไร?" Part # 2 ในตอนนี้เรามาดูขั้นตอนการเตรียมข้อมูลราคาย้อนหลัง อีกวิธี คือ "การนำข...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น