วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 20 : "เกณฑ์การเลือกโบรกเกอร์"


"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 20

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐาน Forex ในส่วนที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นกันไปแล้ว ต่อมาก็เตรียมเปิดบัญชีสำหรับใช้ในการเทรด

โดยมือใหม่ผมแนะนำให้คุณเปิดบัญชีเดโม่เพื่อฝึกใช้งานก่อน จนกว่าจะชำนาญแล้วค่อยเทรดบัญชีจริง

บัญชีเดโม่ ผมอยากให้มือใหม่ใช้สำหรับฝึกใช้งาน MT4 ให้คล่องก่อน ยังไม่ต้องสนใจเรื่องกำไรขาดทุน เมื่อพร้อมเทรดจริงแล้วค่อยเปิดบัญชีจริงอีกทีครับ

ถ้าจะเปิดบัญชีเดโม่ ผมอยากให้เปิดกับโบรกเกอร์ที่เราจะเลือกใช้ไปเลย เพราะค่า Spread และเงื่อนไขอื่นๆ จะใกล้เคียงกับบัญชีที่คุณจะใช้เทรดจริงนั่นเอง

เพราะฉะนั้นในตอนนี้ เรามาดู "เกณฑ์การเลือกโบรกเกอร์" กันครับ ว่ามีเกณฑ์ในการเลือกยังไงกันบ้าง


จริงๆแล้วแต่ละโบรกเกอร์ก็จะมี "ข้อเด่น" และ "ข้อด้อย" ที่แตกต่างกันออกไป อยู่ที่ใครให้น้ำหนักความสำคัญเรื่องไหนมากกว่ากัน ก็จะใช้เรื่องนั้นเป็นเกณฑ์ของตัวเองในการเลือกโบรกเกอร์


มาดูกันว่ามีเกณฑ์อะไรบ้างที่นำมาใช้ในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์

เรื่องแรกที่สำคัญอันดับต้นๆเลย คือ

# ความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ : หลักๆจะดูเรื่องของ สถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน น่าไว้ใจมากน้อยแค่ไหน ซึ่งดูจากได้จากใบอนุญาตที่โบรกเกอร์แสดงไว้ในหน้าเว็ปไซด์ของโบรกเกอร์นั้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะของโบรกเกอร์ได้

โดยใบอนุญาตของโบรกเกอร์จะต้องได้รับมาตรฐานในระดับสากล ในอนุญาตที่มีความน่าเชื่อถือในระดับต้นๆ ของโลก มีดังนี้

Cyprus - Cyprus Securities and Exchange Commission (CySEC)

Germany - Federal Financial Supervisory Authority (BaFin)

Australia - Australian Securities and Investments Commission (ASIC)

Switzerland - Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA)

Japan - Financial Services Agency (FSA)

United Kingdom - Financial Conduct Authority (FCA)

US - Financial Industry Regulatory Authority (FINRA)

US - U.S. Securities and Exchange Commission (SEC)

และก็ยังมีใบอนุญาตจากประเทศอื่นนอกเหนือจากนี้อีกเช่นกัน


เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้น ใบอนุญาตที่กล่าวไว้ข้างต้นก็เหมือน ใบอนุญาตโบรกเกอร์เกรด A ส่วนใบอนุญาตอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นเกรดที่รองลงมานั่นเอง


# ค่า Spread : ค่าธรรมเนียมในการเทรดสูงต่ำเพียงใด ยิ่งต่ำถือว่ายิ่งดี แต่บางโบรกเกอร์ที่ได้รับมาตรฐานในระดับสูงๆ ค่า Spread อาจจะไม่ต่ำก็ได้ แต่ก็ไม่ควรจะสูงจนเกินไป

ลิขสิทธิ์:ayo88/123RF

ดังนั้นก็ต้องลองชั่งน้ำหนักดูว่าเรื่องนี้มีผลกับระบบที่เราใช้เทรดมากน้อยแค่ไหน


# ส่งออเดอร์ตรงกับธนาคาร หรือ รับไว้เอง : ที่ผมได้เคยเกริ่นไว้ในตอนที่ 12 ว่ามีโบรเกอร์อยู่ 2 ประเภท คือ แบบส่งออเดอร์ตรงกับธนาคาร เรียกว่า บัญชีประเภท STP และ ECN บัญชี 2 ประเภทนี้ ส่วนมากจะเป็นบัญชีประเภท Standard Lot

อีกแบบ คือ รับออเดอร์ไว้เอง หรือเรียกว่า ผู้ทำตลาด (Market Maker : MM) หากจะเลือกโบรกเกอร์ประเภทนี้ ควรดูโบรกเกอร์ที่มีความรับผิดชอบหน่อย


ในวงการโบรกเกอร์จะเรียกโบรกเกอร์ประเภทส่งออเดอร์ตรงกับธนาคารว่า A Book และเรียกโบรกเกอร์ที่รับออเดอร์ไว้เองว่า B Book ซึ่งบางโบรกเกอร์ก็เป็น A Book 100% บางโบรกเกอร์ก็เป็น B Book 100% และบางโบรกเกอร์ก็เป็นทั้ง A Book และ B Book ทั้ง 2 แบบ


# ไม่ปรับแต่งกราฟจนเกินไป : ทุกโบรกเกอร์สามารถปรับแต่งกราฟได้ ซึ่งราคานั้นไม่ควรมีการแต่งกราฟที่ผิดปกติจนเกินไป เช่น จงใจดึงราคาไปกิน Stoploss ของลูกค้าที่มีปริมาณซื้อขายจำนวนมากในบริเวณนั้น

ส่วนมากแล้วการกระทำแบบนี้จะเกิดขึ้นกับโบรกเกอร์ประเภท B Book ที่ไม่ค่อยมีจรรยาบรรณ แต่จะไม่ค่อยเห็นในโบรกเกอร์ประเภท A Book


# เปิด / ปิด ออเดอร์ได้รวดเร็ว : ไม่ควร Delay นานเกินไป หรือ กดคำสั่งไม่ไป จนต้องกดซ้ำหลายครั้ง ยิ่งคนที่ใช้กลยุท์ในการเทรดสั้นด้วยแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญไม่น้อย


# มีเจ้าหน้าที่ Support เป็นคนไทยดูแลหรือไม่ : ถ้ามีคนช่วยดูแลเป็นคนไทยจะยิ่งง่ายในการประสานงาน ในกรณีที่เราเจอปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ




# ฝาก ถอน ง่าย และสะดวกรวดเร็ว : อันนี้สำคัญมาก เพราะเรื่องเงินเป็นเรื่องใหญ่ ผมเชื่อว่าทุกคนก็อยาก ฝาก ถอน ง่าย และได้เงินเร็วกันทั้งนั้น เรื่องนี้ก็ควรนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน


# อื่นๆ : อันนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจเฉพาะบุคคลที่มีเพิ่มเติม เช่น มีโบนัส มีกิจกรรมเทรดแลกของรางวัล หรือ การจัดอบรมบ่อยๆ เป็นต้น โดยส่วนตัวผมแล้วข้อนี้ ผมไม่เน้นให้ความสำคัญมากนัก


ตอนนี้พอจะรู้หลักเกณฑ์ในการเลือกโบรกเกอร์กันแล้ว คุณก็น่าจะพอสามารถเลือกด้วยตัวเองได้แล้ว ชอบโบรกเกอร์ไหนก็เลือกได้ตามใจชอบเลยครับ


สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะเลือกโบรกเกอร์ไหนดี ผมมีโบรกเกอร์ที่ใช้อยู่หลักๆ 3 ที่ ดังนี้ครับ

1. FBS : ได้รับใบอนุญาต CySEC Licence Number: 331/17 (Registration Number 353534) และ Belize IFSC (Licence no. IFSC/60/230/TS/17)




2. XM : ได้รับใบอนุญาต FCA (หมายเลขอ้างอิง: 705428) และ ASIC (เลขที่ 443670) และ CySEC License Number: 120/10 (Registration Number: 251334) และ  Belize IFSC (Licence no. IFSC/60/354/TS/18)



3. Pepperstone : ได้รับใบอนุญาต AFSL #414530 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ASIC มีประกันคุ้มครองกับ Lloyds of London เก็บรักษาบัญชีของลูกค้าไว้กับธนาคารในประเทศออสเตรเลีย




ท่านใดที่อยากสนับสนุนผมในการเขียนบทความต่อไปเรื่อยๆ หรือ อยากร่วมใช้ Ai เทรดในอนาคต หลังจากที่ ผม เพื่อนๆ และ อาจารย์ ช่วยกันพัฒนาจนเสร็จ ก็สามารถใช้ลิ๊งด้านล่างนี้เปิดบัญชีได้เลยนะครับ

เปิดบัญชี FBS คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีเดโม่ XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชีจริง XM คลิ๊กที่นี่

เปิดบัญชี Pepperstone คลิ๊กที่นี่    Affiliate ID: 3356


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับหลายๆคนใช้ในการเลือกโบรกเกอร์นะครับ


- Purd Tanitas -


Blogger : http://startupforexforbeginner.blogspot.com
Blockdit : Startup Forex by Purd Tanitas

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 : ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี?

"เริ่มต้น Forex จาก 0" ตอนที่ # 40 :  ตั้งค่า Period ของ Indicator เท่าไหร่ดี? หลายคนข้องใจว่าจะตั้งค่า "Period" ของ...